แผนกลยุทธ์ - ปรับขนาดจากแนวคิดนำร่องให้เป็นโซลูชันอุตสาหกรรม
เป้าหมายของแผนการนี้คือบริษัทที่มีแนวคิดนำร่องอยู่จำนวนหนึ่งเพื่อเรียนรู้และทดสอบแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 ต่างๆ สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาในการขยายแนวคิดนำร่องให้เป็นการปรับสู่อุตสาหกรรม 4.0 ก็คือความสอดคล้องทั่วทั้งกระบวนการผลิต หรือห่วงโซ่แห่งคุณค่า และกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ผลิตด้วยกระบวนการผลิตของตนเอง
การทดสอบนำร่องและ “กรณีการใช้งาน”
เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจัดเรียงแต่ละการทดสอบนำร่องและ “กรณีการใช้งาน” ในระดับที่สูงขึ้น โดยมุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์ 1 กลุ่ม และกระบวนการผลิตทั้งกระบวนการ หรือห่วงโซ่แห่งคุณค่าสำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้ ผลที่ได้คือ เป็นไปได้ที่ต้องทำการทดสอบนำร่องบางอย่างซ้ำด้วยการมุ่งเน้นที่ขอบข่ายใหม่ เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าแนวคิดนำร่องนั้นทำงานร่วมกันด้วยการใช้งานและทดสอบแนวคิดทั้งหมดสำหรับ 1 กลุ่มผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการผลิต นั่นหมายความว่าสำหรับแต่ละขั้นตอนของห่วงโซ่คุณค่าและ 1 กลุ่มผลิตภัณฑ์ “กรณีการใช้งาน” และโซลูชันทางเทคนิคจะได้รับการพิสูจน์ อุปกรณ์และเครื่องมือการผลิตมีเซนเซอร์และแอคทูเอเตอร์จำนวนมากที่สามารถสื่อสารได้ ควรให้ความสำคัญกับการกำหนดมาตรฐานและเทคโนโลยีหลักที่โซลูชันต่างๆ ตลอดกระบวนการผลิตต้องปฏิบัติตามเพื่อให้สามารถแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากรได้ นอกจากนั้น จะเพิ่มความเป็นหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาในเหตุการณ์ ต้องตรวจสอบให้แน่ใจถึงประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อ เพื่อให้สามารถปรับขนาดโซลูชัน ต้องพัฒนาโซลูชันการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์และนโยบาย โดยเฉพาะวิธีรับมือกับการเข้าถึงของบุคคลที่ 3 และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง บริษัทต่างๆ ที่เป็นผู้ให้บริการต่อซัพพลายเออร์และพันธมิตรในการเข้าถึงอุปกรณ์และข้อมูลต้องได้รับการป้องกันจากการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาตและการจู่โจม เช่น แรนซัมแวร์ ผ่านจุดการเข้าถึงเหล่านี้ มีข้อมูลจำเพาะของผลิตภัณฑ์ในระดับที่ความคลาดเคลื่อนและการขันให้แน่นสามารถแปลงให้เป็นดิจิตอลและเครื่องมือการผลิตและประกอบสามารถเข้าใจได้ ซึ่งโซลูชันประกันคุณภาพและการป้องกันข้อผิดพลาดก็ใช้ข้อมูลเดียวกันนี้ด้วย พัฒนาการที่เป็นไปได้คือการกำหนดกระบวนการเพื่อการเปลี่ยนข้อมูลผลิตภัณฑ์ หรือข้อมูลจำเพาะกระบวนการผลิตอิงตามข้อมูลเชิงลึกที่ได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูล
การตระหนักถึงประโยชน์ของ "กรณีการใช้งาน"
ภูมิทัศน์ทาง IT คือสิ่งสำคัญ สถาปัตยกรรม IT สมัยใหม่จะเน้นด้านการทำให้แยกส่วนได้ และถอดออกจากกันได้ เพื่อความยืดหยุ่นและความคล่องตัว นั่นก็คือความสามารถทางธุรกิจที่ดำเนินการโดยกระบวนการและระบบที่สนับสนุนควรมีขอบข่ายที่กำหนดมาอย่างชัดเจน ที่นำมาใช้เป็นโมดูลที่สื่อสารและแบ่งปันข้อมูลผ่านสถาปัตยกรรมที่มุ่งเน้นด้านบริการ คุณประโยชน์อย่างหนึ่งก็คือระบบแบบเดิมที่มีอยู่จะทำหน้าที่เป็นเสาหลัก และสามารถเพิ่มความสามารถใหม่ด้วยการผสานโมดูลเมื่อมีความต้องการความสามารถใหม่ๆ ขณะที่บริษัทกำลังปรับตัวสู่อุตสาหกรรม 4.0 งานเกี่ยวกับแรงงานจะเปลี่ยนไป งานวิจัยชั้นนำชี้ให้เห็นว่าความต้องการทรัพยากรจะไม่หายไป เพราะงานที่ไม่ต้องทำแล้วจะถูกแทนที่ด้วยงานขั้นสูงกว่า ดังนั้นบริษัทต่างๆ ควรสร้างวัฒนธรรมและองค์กรที่มีความมุ่งมั่นและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง กลยุทธ์สำหรับบริษัทที่ตั้งเป้าหมายว่าจะขยายขนาดจากการทดสอบนำร่องไปสู่การปรับใช้ทั่วทั้งบริษัท ควรมีวิสัยทัศน์ระยะยาว เช่น “ด้านการผลิตจำนวนมาก” และวิธีการที่คล่องตัวและยึดหยุ่นสู่โซลูชัน และวิธีการนำโอกาสมาใช้ ปัจจัยสำคัญในการปรับขนาดคือสถาปัตยกรรมธุรกิจและการออกแบบของระบบนิเวศน์ของระบบ อุปกรณ์ และโครงสร้าง IT ปัจจุบันมีการรวมระบบและโซลูชันจากผู้ผลิตอุปกรณ์, ซอฟต์แวร์ ERP และระบบการผลิต ก่อนหน้านี้ระบบเหล่านี้แยกออกจากกันด้วยฟังก์ชันที่ไม่มีการแข่งขัน ตอนนี้ต่างปรับสู่อุตสาหกรรม 4.0 ทั้งหมด และพัฒนาฟังก์ชันที่ซ้อนทับกัน – และบริษัทต่างๆ ควรทำการเลือกทางกลยุทธ์
วิธีการที่เป็นไปได้ในการปรับขนาดโซลูชัน
มีการประเมินว่าการใช้ IoT จะสามารถช่วยลดการบาดเจ็บของพนักงานในสภาพแวดล้อมของโรงงานได้ 10 ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งประหยัดได้สูงถึง 225 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปีในปี 2025...ดาวน์โหลดเอกสารสรุปเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิดโรงงานอัจฉริยะ - ประตูสู่อุตสาหกรรม 4.0! ของเรา