เนื่องจากลูกค้า คู่ค้า และรัฐบาลต้องการให้ผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด ความยั่งยืนจึงกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการอยู่รอด แต่ความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนหรือเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนล้วนต้องอาศัยการดำเนินการที่เชื่อถือได้มาช่วยสนับสนุน แนวคิดการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเสนอโอกาสทองให้กับผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมในการเจรจาธุรกิจ
ข้อมูลจากสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum)ระบุว่าภาคอุตสาหกรรมรวมถึงอุตสาหกรรมการผลิตใช้ทรัพยากรพลังงานของโลกไปประมาณ 50% และถือเป็น 1 ใน 5 ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก เมื่อพิจารณาเฉพาะเจาะจงกับผลิตภัณฑ์และเครื่องมือจาก Atlas Copco การปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 90% เกิดขึ้นหลังขั้นตอนการผลิต กล่าวคือในขณะที่ผลิตภัณฑ์ถูกนำไปใช้นั่นเอง หากสามารถสันนิษฐานได้ว่าตัวเลขนี้เป็นจริงในตลาดการผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวม จะทำให้แนวคิดการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมสามารถสร้างความแตกต่างที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
ความยั่งยืนเริ่มต้นตั้งแต่ร่างแบบ
การออกแบบเชิงนิเวศหรือการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมถูกพูดถึงครั้งแรกในปี 1996 โดยเป็นวิธีการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่ให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดทั้งวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นกระบวนการในการนำข้อควรพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อมมารวมเข้ากับการออกแบบและการพัฒนา โดยมีเป้าหมายเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ นับตั้งแต่การผลิต การใช้งาน ไปจนถึงการรีไซเคิลหรือการกำจัดทิ้ง
การออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นแกนหลักของเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนและนอกเหนือจากการสร้างประโยชน์ให้กับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังอาจช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและสร้างประสิทธิภาพการดำเนินการให้กับผู้ผลิตได้เป็นอย่างมาก
“การออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของการออกแบบและการผลิตสินค้าใหม่หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการปรับปรุงอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งให้ประโยชน์ที่ยั่งยืนและจับต้องได้กับลูกค้าในแง่ของความสามารถในการผลิต การประหยัดพลังงาน และต้นทุนที่ลดลง ตลอดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์”
Zeba Usmani วิศวกรการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่แผนกอุตสาหกรรม MVI ของ Atlas Copco
แก่นสำคัญของการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมคือข้อควรพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อมพื้นฐานจำนวนมากที่ครอบคลุมตลอดทั้งวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ นับตั้งแต่การผลิต การใช้งาน จนถึงการรีไซเคิลหรือการกำจัด
การผลิต
- ใช้วัสดุที่ทนทานและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง
- ใช้วัสดุน้อยลงในกระบวนการผลิต
- ใช้วัสดุรีไซเคิลและวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ง่าย
- ใช้ทรัพยากร เช่น พลังงาน ให้น้อยลงในกระบวนการผลิต
- สร้างมลพิษและของเสียน้อยลง
การใช้งาน
- ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์
- ทำให้ผลิตภัณฑ์ใช้ทรัพยากรน้อยลงเมื่อลูกค้านำไปใช้งาน
- ทำให้ผลิตภัณฑ์ก่อมลพิษและของเสียน้อยลงเมื่อลูกค้านำไปใช้งาน
- ทำให้ฟังก์ชั่นการทำงานของผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสม รวมถึงให้การบริการที่เกี่ยวข้องและมีประสิทธิภาพ
การรีไซเคิลหรือการกำจัดทิ้ง
- ทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถนำกลับมาใช้ใหม่และรีไซเคิลได้จริงและง่าย
- ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการกำจัดทิ้ง
เครื่องขันน็อต Tensor ITB-A
ตัวอย่างจริงของเครื่องมือการผลิตที่ออกแบบให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งมีจำหน่ายในตลาดปัจจุบันคือ เครื่องขันน็อตทำมุมแบบไร้สาย Tensor ITB-A ของ Atlas Copco
“ความมุ่งหมายของ Atlas Copco คือการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิของการผลิตยานยนต์ เป็นต้น โดยการเลือกวัสดุ ความสามารถในการรีไซเคิล อายุการใช้งาน และการประหยัดพลังงานของโซลูชั่นและเครื่องมือการประกอบของเราเพื่อสร้างความแตกต่าง ซึ่งเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญมาอย่างยาวนาน” Zeba Usmani กล่าว
Tensor ITB-A คือกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องมือแบตเตอรี่พกพาไร้สายที่ประหยัดพลังงาน แยกชิ้นส่วนและรีไซเคิลได้ง่าย มีการปล่อยก๊าซ CO2 ลดน้อยลงถึง 62% เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์รุ่นก่อนหน้า เครื่องมืออัจฉริยะนี้ใช้แพลตฟอร์มเครื่องควบคุมในตัวซึ่งช่วยให้บริหารจัดการเครื่องมือและผนวกรวมกับระบบการผลิตได้แบบเรียลไทม์ จึงลดความจำเป็นในการใช้ฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ในโรงงาน ตลอดจนลดการสิ้นเปลืองพลังงาน
“การออกแบบที่มีเครื่องควบคุมในตัวช่วยขจัดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่การผลิตและการขนส่งเครื่องควบคุม เนื่องจาก Tensor ITB-A ใช้พลังงานน้อยลง ทำให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนลดลงและค่าใช้จ่ายของลูกค้าลดลงไปด้วย อีกทั้งเครื่องมือนี้ผลิตโดยใช้วัสดุรีไซเคิล 34%” Zeba Usmani กล่าว