ความสำคัญของโบลเวอร์กับระบบบำบัดน้ำเสีย (Blowers in Wastewater Treatment Applications)

ปัญหามลพิษทางน้ำถือเป็นปัญหาใหญ่ด้านสิ่งแวดล้อมที่ทุกโรงงานอุตสาหกรรมกำลังตระหนักและให้ความสำคัญ โรงงานอุตสาหกรรมจึงจำเป็นต้องมีการจัดการหรือบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ

ไขข้อสงสัย โบลเวอร์กับการบำบัดน้ำเสีย

“น้ำ” ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เมื่อเราใช้อุปโภค บริโภคเสร็จแล้วก็จะปล่อยทิ้งลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ น้ำเสียส่วนใหญ่จึงมีสาเหตุมาจากบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่มีการบำบัดก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำป็นเหตุให้น้ำเน่าเสียส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีการออกกฎหมายเพื่อควบคุมมลพิษและจัดการคุณภาพน้ำก่อนปล่อยลงสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีการจัดการหรือบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยจะต้องมีการจัดเก็บข้อมูลสถิติแสดงผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียในแต่ละวันต่อเจ้าหน้าที่ นี่จึงเป็นเหตุให้โรงงานและสถานประกอบการต่างๆ ตระหนักถึงความสำคัญของการบำบัดน้ำเสียมากขึ้

การบำบัดน้ำเสีย หมายถึง การไม่ปล่อยสารมลพิษลงสู่แหล่งน้ำหรือปล่อยให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทําได้ หากเกิดมลพิษขึ้นแล้วจะต้องมีการกําจัดมลพิษในน้ำให้เหลือน้อยที่สุด โดยอาศัยกรรมวิธีต่างๆ เพื่อดำเนินการเปลี่ยนสภาพของเสียในน้ำเสียให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมพอที่จะไม่ทำให้เกิดปัญหาต่อแหล่งรับน้ำเสียนั้น ๆ 

Atlas Copco เข้าใจและตระหนักถึงปัญหาน้ำเสีย จึงพัฒนานวัตกรรมเพื่อใช้ในกระบวนการบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นมาโดยเฉพาะ นั่นก็คือเทคโนโลยีสกรูโบลเวอร์ (screw air blower) โบลเวอร์หรือเครื่องเติมอากาศชนิดไร้น้ำมันถือเป็นหัวใจสำคัญในการบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมทั้งในเขตเทศบาลและโรงงานอุตสาหกรรม กระบวนการบำบัดน้ำเสียแต่ละกระบวนการจะมีการนำโบลเวอร์ไปใช้อย่างไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ 

WASTEWATER

1. กระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยการเติมอากาศแบบกระจาย (Diffused Aeration)

Diffused Aeration
เนื่องจากแบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องการก๊าซออกซิเจนเพื่อความอยู่รอด เราจึงต้องเป่าอากาศอัดลงใต้ผิวน้ำเสีย (waste water) ด้วยโบลเวอร์หรือเครื่องเติมอากาศ (screw blower) เพื่อให้แน่ใจว่าแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ใต้ผิวน้ำจะได้รับอากาศอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย

2. กระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge Process)

เป็นวิธีบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการทางชีววิทยา โดยใช้แบคทีเรียพวกที่ใช้ออกซิเจน (Aerobic Bacteria) ที่กำลังเจริญและเพิ่มจำนวน อย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง เป็นตัวหลักในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย กระบวนการนี้จะแยกสารตกตะกอน (เช่น สารแขวนลอย) ออกจากน้ำเสียผ่านการตกตะกอน โดยที่น้ำทิ้งจะไหลผ่านเข้าสู่บ่อเติมอากาศ (aeration tank) ทำให้อากาศแรงดันต่ำเคลื่อนที่ผ่านไปยังตะแกรงกระจายอากาศและบ่อตกตะกอน (sedimentation tank) โดยปกติน้ำจะผ่านกระบวนการนี้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงในสภาพอากาศปกติและอาจจะใช้เวลาสองสามสัปดาห์หากสภาพอากาศเย็น ระบบนี้จำเป็นจะต้องควบคุมสภาวะแวดล้อมและลักษณะทางกายภาพต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อความรวดเร็วในการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถบำบัดได้ทั้งน้ำเสียระดับชุมชนและน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางถึงขนาดใหญ่

3. กระบวนการบำบัดน้ำเสียด้วยการเติมอากาศแบบลากูน (Lagoon Aeration)

มีลักษณะคล้ายกับกระบวนการแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge Process) โดยการใช้โบลเวอร์หรือเครื่องเติมอากาศ (screw blower) เติมอากาศไปยังผิวน้ำเสียเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับจุลินทรีย์ สามารถแบ่งได้ 2 แบบ คือ การผสมแบบทั่วทั้งบ่อและการผสมเพียงบางส่วน โดยทั่วไปกระบวนการนี้จะนิยมใช้ในโรงงานขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ในพื้นที่ชนบท สาเหตุที่เลือกใช้กระบวนการนี้กับพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลชุมชนเนื่องจากจำเป็นต้องขุดแอ่งดินเพื่อใช้เป็นบ่อเติมอากาศและติดตั้งถังพัก นอกจากนี้ภายในบ่อบำบัดจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันทางชีวภาพของน้ำเสียอีกด้วย

4. กระบวนการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพด้วยเมมเบรน (Membrane Bioreactor หรือ MBR)

กระบวนการ MBR เป็นการผสมผสานระหว่างการใช้จุลินทรีย์เพื่อกำจัดของเสียที่ละลายในน้ำและการกรองผ่านเยื่อเมมเบรน ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของกระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge Process) โดยจะมีตัวกรองเมมเบรนแบบละเอียดติดตั้งอยู่ที่ปลายท่อระบายของบ่อเติมอากาศแบบมาตรฐานและปั๊มสุญญากาศอยู่ด้านบนตัวกรองเมมเบรน ทำให้เกิดสภาวะสุญญากาศเล็กน้อยและดึงของเสียออกจากน้ำเสียผ่านทางเมมเบรน ทำให้จุลินทรีย์ยังคงอยู่ในบ่อเติมอากาศ ไม่สามารถผ่านรูขนาดเล็กจำนวนมากในเมมเบรนได้ ทำให้ตัวกรองเมมเบรนมีโอกาสอุดตันหรือเปรอะเปื้อนได้ จำเป็นต้องทำความสะอาดบ่อยขึ้น กระบวนการนี้จึงนิยมใช้ในโรงงานขนาดกลางถึงขนาดใหญ่

5. กระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบ Moving Bed Biofilm Reactor หรือ MBBR

กระบวนการ MBBR เป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียที่ประหยัดพื้นที่ สามารถทำงานได้แม้มีพื้นที่ขนาดกะทัดรัด เพราะเป็นการเพิ่มตัวกลางที่เป็นพลาสติกลงในระบบบําบัดน้ำเสีย พลาสติกที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการยึดเกาะของจุลินทรีย์ วัสดุพอลิเมอร์จะไปทำหน้าที่ปรับปรุงคุณสมบัติของน้ำเสียและเร่งปฏิกิริยาด้วยเอนไซม์ หากมีจุลินทรีย์มากขึ้นโอกาสที่จุลินทรีย์จะไปกินอาหาร (น้ำเสีย) ก็มีมากขึ้น กระบวนการนี้จึงสามารถปรับขนาดให้พอดีกับโรงงานทุกขนาดและสามารถปรับให้เข้ากับระบบตะกอนเร่งรุ่นเดิม ในกระบวนการนี้บ่อบำบัดจะเต็มไปด้วยลูกบอลพลาสติกนับพันลูก เพื่อช่วยเร่งการเติบโตของจุลินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยตะแกรงกระจายอากาศจะทำหน้าที่ผลิตอากาศที่จำเป็นต่อการเติบโตของจุลินทรีย์และทำหน้าที่กระจายจุลินทรีย์ให้ทั่วบ่อบำบัด 

6. กระบวนการบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์ (Sequencing Batch Reactor)

เป็นระบบบำบัดน้ำเสียอีกวิธีหนึ่งที่ประหยัดพื้นที่ มักใช้ในโรงงานขนาดเล็กถึงขนาดกลาง วิธีการคือใช้ถังขนาดเท่ากันสองถัง สลับกันระหว่างขั้นตอนการบำบัด โดยถังหนึ่งเติมอากาศเป็นแบบปล่อยน้ำเสียให้เข้าสู่ถังเติมอากาศให้เต็มก่อน  จากนั้นปิดถัง  ทันทีที่เติมถังแรก น้ำเสียจะถูกส่งไปยังถังที่สองและเติมอากาศสลับกัน จะหยุดการเติมอากาศให้เกิดการตกตะกอนในถังเติมอากาศเพราะถังตกตะกอนและถังเติมอากาศเป็นถังเดียวกัน เมื่อบำบัดจนครบวงจรแล้วจึงระบายน้ำใสไปยังถังเติมคลอรีนและปล่อยออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะต่อไป   กระบวนการนี้จะช่วยให้โรงงานทำงานได้อย่างต่อเนื่อง หากโรงงานมีขนาดใหญ่ก็แค่เพียงใช้ถังที่มีขนาดใหญ่ขึ้นตามการใช้งาน

7. กระบวนการบำบัดน้ำเสียเเบบไม่ใช้อากาศหรือก๊าซออกซิเจน (Anaerobic digestion)

กระบวนการนี้สารอินทรีย์ในน้ำเสียประมาณร้อยละ 80-90 จะถูกย่อยสลายเป็นก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอกเหนือไปจากไนโตรเจน แอมโมเนียและไฮโดรเจนซัลไฟด์ในปริมาณที่น้อยกว่าหรือเราเรียกว่า ก๊าซชีวภาพ (Biogas) ซึ่งเป็นผลให้จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายมีการเจริญเติบโตค่อนข้างช้าทำให้ระบบเริ่มต้น (start up) ได้ช้าอีกทั้งประสิทธิภาพของระบบในการบำบัดต่ำจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการกักเก็บของเหลว (Hydraulic Retention Time;HRT) นานขึ้น ระบบบำบัดจึงมีขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ระบบยังมีการปรับตัวไม่ดีนักต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและในระหว่างกำจัดบางครั้งอาจมีก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen Sulfide) เกิดขึ้น ทำให้มีกลิ่นเหม็น ระบบนี้จึงมีข้อจำกัดการใช้งาน  ดังนั้นเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงจำเป็นต้องผ่านเตาเผา (reactor) หรือทำการบำบัดในชุดตัวกรองก่อนที่จะฉีดเข้าไปในเครื่องเป่าอากาศหรือโบลเวอร์ (screw blower)  ซึ่งก๊าซชีวภาพสามารถนำมาผลิตไฟฟ้าและความร้อนในอาคารได้ หรือที่เรียกว่าระบบโคเจนเนอเรชั่น (cogeneration system) ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบและปริมาณของเสียในบ่อบำบัด กระบวนการนี้สามารถผลิตพลังงานจำนวนมากเพียงพอสำหรับการใช้ในโรงงานเลยทีเดียว

8. กระบวนการบำบัดน้ำเสียเเบบล้างย้อน (Filter Backwashing)

กระบวนการนี้เป็นการสูบน้ำไปข้างหลังผ่านตัวกรองโดยที่น้ำจะถูกสูบย้อนกลับไปยังตัวกรอง เพื่อป้องกันไม่ให้สารกรองสกปรกเกินไปหรือแม้กระทั่งใช้งานไม่ได้ บางครั้งอาจรวมไปถึงความต่อเนื่องจากการบีบอัดอากาศในระหว่างกระบวนการ การล้างย้อนเป็นรูปแบบหนึ่งของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันเพื่อให้สามารถใช้วัสดุกรองซ้ำได้

ตัวอย่างการนำโบลเวอร์มาใช้ในอุตสาหกรรมบำบัดน้ำเสีย

หากมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานโบลเวอร์ในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของแอตลาส คอปโก้ได้โดยตรงที่ Official Line@: atlascopcothailand

                                                            

การบำบัดน้ำเสีย โบลเวอร์ Waste water treatment โบลเวอร์ ZS ZS

atlas copco thailand 24/7 customer center

แอตลาส คอปโก้ ประเทศไทย (สำนักงานใหญ่)

125 หมู่ 9 นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ ถ.บางนาตราด กม.36 ต.บางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 24130

ความสำคัญของโบลเวอร์กับระบบบำบัดน้ำเสีย (Blowers in Wastewater Treatment Applications)

explainer icon