เลือกเครื่องทำลมแห้ง (Compressed Air Dryer) อย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน

คุณกำลังเจอปัญหาความชื้นในระบบอัดอากาศอยู่ใช่ไหม? แอตลาส คอปโก้ ช่วยคุณได้ค่ะ มาดูกันเลย!

เลือกเครื่องทำลมแห้ง (Compressed Air Dryer) อย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน

ปัญหาความชื้นในระบบอัดอากาศถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ในกระบวนการผลิตนะคะ เพราะคุณภาพอากาศอัดที่ดีควรปราศจากสิ่งสกปรก น้ำ และน้ำมัน หากมีความชื้นปนเปื้อนในระบบอัดอากาศก็อาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้ค่ะ ไม่ว่าจะเป็น การกัดกร่อนในระบบนิวเมติก จนเป็นเหตุให้เกิดสนิม  นอกจากนี้น้ำยังเป็นสาเหตุให้เกิดแรงดันตก (pressure drop) ได้ หรือหากมีความชื้นในระบบลำเลียงก็อาจทำให้วัสดุเกาะติดเป็นก้อนได้ เช่น น้ำตาล ปูนซีเมนต์ หรือแป้ง

ความชื้นในระบบอัดอากาศเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เครื่องทำลมแห้ง (compressed air dryer) จึงถือเป็นสิ่งสำคัญในระบบอัดอากาศ เพราะนอกจากความชื้นจะปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์จนทำให้ผลิตภัณฑ์ของคุณเสียหายแล้วนั้น ความชื้นยังทำลายเครื่องจักรรวมไปถึงอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบการผลิตอีกด้วย เราจึงต้องหาทางกำจัดความชื้นออกจากระบบอัดอากาศ นั่นก็คือการเพิ่มเครื่องทำลมแห้ง (air dryer) เข้ามาในระบบอัดอากาศนั่นเอง เครื่องทำลมแห้ง (air dryer) เป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งในระบบอัดอากาศมักติดตั้งคู่กับเครื่องระบายความร้อน (aftercoolers) มีหน้าที่ช่วยลดความชื้นในระบบอัดอากาศ ทำให้ลมที่เปียกอยู่เป็นลมแห้ง แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าเครื่องทำลมแห้งแบบใดเหมาะกับคุณ? มาดูกันเลยค่ะ!

โรงงานของเราควรใช้ Air Dryer แบบใด?

โดยทั่วไปแล้ว การเลือกเครื่องทำลมแห้ง (air dryer) ควรเลือกขนาดที่เหมาะสมตามความต้องการใช้งานจริง ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศ (air compressor) รวมไปถึงอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบอัดอากาศที่คุณใช้งานอยู่ด้วย  เราลองรวบรวมมาให้คร่าวๆ แล้วว่าหากคุณกำลังมองหาเครื่องทำลมแห้ง (air dryer) ควรพิจารณาจากสิ่งใดบ้าง: 

  1. อัตราการไหลสูงสุดของลมในระบบอัดอากาศซึ่งคิดเป็นลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (scfm)

  2. ปริมานน้ำในลมอัดที่ต้องการ (pressure dew point)
  3. แรงดันอากาศขาเข้า (Inlet air pressure)
  4. อุณหภูมิอากาศขาเข้า (Inlet air temperature)
  5. อุณหภูมิแวดล้อมโดยรอบ (ซึ่งรวมไปถึงอุณหภูมิของน้ำหลังถูกระบายความร้อน)
  6. สภาพแวดล้อมในการติดตั้งเครื่องทำลมแห้ง (air dryer)

นอกจากนี้ให้พิจารณาดูจากประเภทของเครื่องทำลมแห้งที่คุณต้องการ ดังนี้:

1. Desiccant Air Dryer (เครื่องทำลมแห้งแบบใช้เม็ดสารดูดความชื้น) สามารถทำ pressure dew point ได้ตั้งแต่ -20 ถึง -70 องศาเซลเซียส ซึ่งคุณภาพลมที่ออกมาจัดเป็นลมที่มีความแห้งสูงเป็นพิเศษ มีคุณภาพ เชื่อถือได้ เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการอากาศคุณภาพสูงในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมยาและการแปรรูปอาหาร แต่ข้อเสียคือกินไฟมากกว่า Refrigerated Air Dryer ถึง 15%-20% เนื่องจากมักจะติดตั้งมาพร้อมกับตัวระบายความร้อน (After cooler)
2. Refrigerated Air Dryer (เครื่องทำลมแห้งแบบใช้น้ำยาทำความเย็น) เครื่องทำลมแห้งชนิดนี้สามารถแยกน้ำออกจากลมอัดได้ถึง 96% หลักการทำงานคือทำให้ลมที่เข้ามามีอุณหภูมิเย็นลงด้วยน้ำยาทำความเย็น ซึ่งน้ำยาชนิดนี้จะทำให้ความชื้นที่อยู่ในลมกลั่นตัวออกเป็นน้ำและถูกระบายออก โดยลมที่ผ่านกระบวนการนี้ จะมีสถานะเป็นลมที่แห้ง โดยทั่วไปจะมี dew point อยู่ที่ประมาณ 3°C / 37°F เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการลมที่แห้งแต่ไม่ต้องการค่า dew point ที่สูงมากนัก ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องและบำรุงรักษานั้นถูกกว่า Desiccant Air Dryer เครื่องทำลมแห้งชนิดนี้จึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับโรงงานที่ต้องการลมแห้งสะอาดปานกลาง ไม่ถึงกับสะอาดมากเป็นพิเศษ

เราควรเลือกซื้อเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) แบบที่มีเครื่องทำลมแห้งในตัว (Integrated Dryer) หรือไม่?

ถ้าสอบถามผู้เชี่ยวชาญของแอตลาส คอปโก้ก็บอกเลยว่าใช่! ผู้เชี่ยวชาญของเราแนะนำให้ใช้ ปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศ (air compressor) แบบที่มีเครื่องทำลมแห้งในตัว (Integrated Dryer) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโรงงานของคุณมีพื้นที่จำกัด แต่ยังต้องการอากาศอัดที่แห้ง ปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศ (air compressor) ที่มีเครื่องทำลมแห้งในตัวจึงช่วยประหยัดพื้นที่ภายในโรงงาน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดมลพิษทางเสียง และยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษาอีกด้วย

เราในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านระบบอัดอากาศบอกได้เลยว่าเครื่องทำลมแห้ง (Air Dryer) มีส่วนสำคัญอย่างมากในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในระบบอัดอากาศ ที่สำคัญเลยคือกินพลังงานเพิ่มมาจากเดิมแค่เพียง 10% เท่านั้น  การเลือกประเภทของเทคโนโลยีเครื่องทำลมแห้ง (air dryer) และขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งานก็มีความสำคัญ คุณควรเลือกเทคโนโลยีที่ช่วยเสริมอัตราการไหลของลมและข้อกำหนดด้านคุณภาพอากาศที่คุณต้องการใช้งาน ตัวอย่างเช่น หากคุณมีการใช้งานอากาศอัดค่อนข้างน้อย คุณอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้น เราขอแนะนำให้คุณใช้เครื่องทำลมแห้งแบบ Heatless desiccant dryer  ซึ่งช่วยประหยัดต้นทุนไปได้มาก แต่หากคุณมีปริมาณความต้องการลมสูงขึ้น อาจจะต้องลงทุนไปใช้เครื่องทำลมแห้งแบบ heated purge หรือ blower dryers แทนเพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า

วิวัฒนาการของเครื่องทำลมแห้ง (air dryer)

ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาให้ เครื่องทำลมแห้ง (air dryer) มีขนาดเล็กลง เพื่อช่วยให้คุณประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง นอกจากนี้ยังมีการปรับโฉมตัวควบคุม (controller) ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมไปถึงการเชื่อมต่อขั้นสูง ที่ช่วยให้คุณสามารถตรวจสอบการทำงานได้จากระยะไกลผ่านสมาร์ทโฟน เพราะบางครั้งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดก็คือการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง จึงออกมาเป็นเครื่องทำลมแห้งที่มาพร้อมเทคโนโลยี Variable Speed Drive (VSD) ที่สามารถปรับความเร็วรอบมอเตอร์ได้ตามความต้องการใช้ที่ผันผวน เมื่อเทียบกับเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบเดิม (Fixed speed air compressor) ที่มีความเร็วเพียงระดับเดียว หากจำเป็นต้องใช้อากาศน้อยลงจะทำให้สิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น ในทางตรงข้าม เทคโนโลยี VSD จะช่วยคุณผลิตอากาศอัดได้สม่ำเสมอและประหยัดพลังงานมากขึ้น

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของแอตลาส คอปโก้ได้โดยตรงที่ Official Line@: atlascopcothailand

                                                            

ไดรเออร์ดูดความชื้นไล่ความร้อน (Heated purge desiccant dryers) ไดรเออร์ (Air dryer) ระบบอากาศอัดสำหรับอุตสาหกรรม เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม อากาศอัดไร้น้ำมันปนเปื้อน อาฟเตอร์คูลเลอร์ ไดรเออร์ (Dryers) ดูดความชื้นที่ใช้ความร้อนจากการบีบอัด ไดรเออร์โรตารี่ดรัม (Rotary drum dryers) ที่ใช้ความร้อนจากการบีบอัด ไดรเออร์ดูดความชื้นปลอดความร้อน (Heatless desiccant dryers) ไดรเออร์สารทำความเย็น (Refrigerant dryers)

atlas copco thailand 24/7 customer center

แอตลาส คอปโก้ ประเทศไทย (สำนักงานใหญ่)

125 หมู่ 9 นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ ถ.บางนาตราด กม.36 ต.บางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 24130

เลือกเครื่องทำลมแห้ง (Compressed Air Dryer) อย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน

explainer icon