รับมือกับปัญหา pressure drop ในระบบอัดอากาศ (compressed air)

ปัญหาการเกิด pressure drop นั้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ หากเกิดปัญหา pressure drop ขึ้นเรามีวิธีแก้ไขอย่างไร? มาดูกันค่ะ!

 

คุณมีวิธีจัดการปัญหา pressure drop ในระบบอัดอากาศ (compressed air) อย่างไร?

การที่คุณใช้น้ำในการล้างจาน ลดน้ำต้นไม้ คุณคงต้องการน้ำที่ไหลสม่ำเสมอเพื่อความรวดเร็วในการทำงานบ้าน หากท่อมีขนาดเล็ก พอมีน้ำไหลมากๆ แรงดันในท่อจะตกลง (pressure drop) ทำให้น้ำไหลไม่สม่ำเสมอ แต่หากไม่มีน้ำไหลเลย ไม่ว่าท่อจะมีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ แรงดันจะเท่ากันตลอดท่อทุกจุด ในระบบอัดอากาศก็เช่นกัน  ปัญหาแรงดันตกหรือ Pressure drop เป็นการบอกว่าแรงดันในระบบอัดอากาศที่จ่ายออกจากเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) ไปยังจุดที่ใช้งานอากาศอัดจริงนั้นลดลง  โดยจะเกิดขึ้นในช่วงที่อากาศอัดเคลื่อนที่ผ่านระบบกรองอากาศและระบบจ่ายลมอัด (treatment and distribution system) ซึ่งระบบอัดอากาศที่ดี (compressed air) ที่ได้รับการออกแบบมาอย่างถูกต้องเหมาะสม ควรมีการสูญเสียแรงดันหรือ pressure drop ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ของแรงดันขาออก (discharge pressure) จากเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมโดยวัดจากเอาท์พุตของถังเก็บลมจนถึงจุดใช้งาน หากคุณใช้งานระบบอัดอากาศอยู่คงจะเคยพบกับปัญหาแรงดันตกหรือ pressure drop มาบ้าง แล้ว pressure drop เกิดจากอะไร? หากเกิดปัญหา pressure drop แล้วจะแก้ไขได้อย่างไร?

สาเหตุของ pressure drop เกิดจากอะไร?

ความขรุขระของผิวท่อภายในระบบอัดอากาศ ทำให้การเคลื่อนที่ของอากาศมีปัญหา

ปัญหาการเกิด pressure drop นั้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่หลักๆ เลยคือ “สิ่งกีดขวาง” ในระบบการไหลของลม (flow rate) ภายในท่อ ความขรุขระของผิวท่อภายในระบบอัดอากาศ ทำให้การเคลื่อนที่ของอากาศมีปัญหา เหมือนเราโดนรถลากไปตามถนนเรียบๆ กับถนนขรุขระ จะเห็นได้ว่าถนนขรุขระนั้นเราต้องบาดเจ็บและเคลื่อนที่ได้ไม่ราบรื่นแน่ๆ การไหลของลมในระบบอัดอากาศก็เช่นกันค่ะ ยิ่งผิวท่อภายในขรุขระเท่าใด อากาศก็ยิ่งเคลื่อนที่ได้ลำบาก หรือมี pressure drop สูงนั่นเอง ซึ่งสิ่งกีดขวางทุกประเภทที่อยู่ในระบบอัดอากาศจะส่งผลให้เกิดแรงต้านทานต่อการไหลของอากาศและทำให้แรงดันลดลงหรือ pressure drop นั่นเอง โดยปัจจัยที่จะทำให้แรงดันตก (pressure drop) แบ่งออกเป็นสองปัจจัยหลักๆ คือ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพอากาศ ได้แก่ เครื่องแยกอากาศ (air separators) เครื่องแยกน้ำมัน (lubricant separators) ตัวระบายความร้อน (aftercoolers) ตัวระบายความชื้น (moisture separators) เครื่องทำลมแห้ง (dryers) และไส้กรอง (filters) และอีกปัจจัยหนึ่งคือในส่วนของการจ่ายอากาศ โดยจุดที่มักจะพบว่ามี pressure drop สูงหรือแรงดันลดลงมากๆ คือจุดที่มีการใช้ท่อที่มีขนาดเล็กกว่าการใช้งานหรือท่อมีรอยลมรั่ว การใช้ข้อต่อท่อแบบตรง ข้อต่อท่อแบบงอ การใช้ประกับเพลา (coupling) ที่สามารถถอดออกได้ง่าย ไส้กรอง ตัวควบคุมและน้ำมันหล่อลื่นก็มีส่วนทำให้แรงดันตก นอกจากนี้ปัญหาแรงดันตก (pressure drop) สามารถเกิดขึ้นได้เมื่ออุณหภูมิและการไหลของอากาศสูงขึ้นถึงจุดสูงสุดระหว่างการจ่ายลมอัดไปยังจุดใช้งาน ในระบบที่มี Pressure drop หรือ ความดันลด ปริมาณมาก ส่งผลให้การไหลผ่านระบบกินพลังงานมากขึ้น ทำให้ต้องใช้ปั๊มหรือมอเตอร์ที่มีกำลังมากขึ้น

วิธีแก้ไขปัญหา pressure drop

การลดปัญหาแรงดันตก (pressure drop) นั้นจำเป็นต้องทำร่วมกับขั้นตอนการออกแบบระบบอัดอากาศ ตั้งแต่ก่อนเริ่มทำการติดตั้ง รวมไปถึงขั้นตอนการบำรุงรักษาระบบ เช่น การเลือกขนาดท่อให้เหมาะสม การเลือกเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) คุณควรเลือกอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพอากาศที่มีคุณภาพ เครื่องระบายความร้อน (aftercoolers) เครื่องแยกความชื้น (moisture separators) เครื่องทำลมแห้ง (dryers) และไส้กรอง (filters) เพื่อให้เกิดปัญหาแรงดันตกน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เมื่อเกิดสภาวะการทำงานสูงสุดเต็มกำลังที่กำหนด เมื่อทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้วควรปฏิบัติตามขั้นตอนการบำรุงรักษาที่ผู้ผลิตแนะนำและจัดทำเป็นเอกสารบันทึกไว้ วิธีต่อไปนี้เป็นเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่ช่วยลดปัญหาแรงดันตก (pressure drop) ในระบบอัดอากาศได้:
  • ออกแบบระบบการจ่ายลมในระบบอัดอากาศให้ถูกต้องเหมาะสมกับการใช้งาน 

  • หมั่นดูแลรักษาไส้กรองอากาศและเครื่องทำลมแห้งเป็นประจำเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากความชื้น เช่น การกัดกร่อนของท่อ

  • ควรเลือกตัวระบายความร้อน (aftercoolers) เครื่องแยกน้ำหรือน้ำมัน (separators) เครื่องทำลมแห้ง (dryers) และไส้กรอง (filters) ที่มีคุณภาพ มีโอกาสเกิดแรงดันตกได้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

  • ลดระยะทางที่อากาศต้องเคลื่อนที่ในระบบจากจุดจ่ายลมอัดไปยังจุดใช้งาน รวมถึงลดจำนวนการใช้ข้อต่อท่อตรง (tees) และข้อต่อท่องอ (elbows) ในระบบจ่ายลม พยายามใช้อุปกรณ์ต่างๆ ให้น้อยที่สุด

  • เลือกใช้ ตัวควบคุมแรงดัน  น้ำมันหล่อลื่น  ท่อและข้อต่อ ที่มีคุณสมบัติที่ดีที่สุดจะช่วยให้ความดันแตกต่างหรือความดันดิฟเฟอเรนเชียล (differential pressure, ΔP) ต่ำ

หากคุณกำลังเผชิญปัญหาแรงดันตก (pressure drop) หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของแอตลาส คอปโก้ได้โดยตรงที่ Official Line@: atlascopcothailand

Operations Technical Control and Monitoring ระบบควบคุมและการตรวจสอบ (Control and Monitoring) Operations เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (Air compressor) ทางเทคนิค

รับมือกับปัญหา pressure drop ในระบบอัดอากาศ (compressed air)

explainer icon

                                                            

atlas copco thailand 24/7 customer center

แอตลาส คอปโก้ ประเทศไทย (สำนักงานใหญ่)

125 หมู่ 9 นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ ถ.บางนาตราด กม.36 ต.บางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 24130

รับมือกับปัญหา pressure drop ในระบบอัดอากาศ (compressed air)

explainer icon