เคล็ด (ไม่) ลับ . . . ลดค่าไฟในโรงงาน

เคล็ดลับต่อไปนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในระบบอัดอากาศของคุณในช่วงที่คุณต้องการชะลอการผลิต มาดูกันค่ะ

ช่วยกันลดค่าไฟในโรงงานช่วงที่กำลังการผลิตลดลง

ช่วงนี้กำลังการผลิตยังเท่าเดิมอยู่ หรือลดลง? เราเข้าใจดีว่าในสถานการณ์เศรษฐกิจแบบนี้ทำให้หลายๆ อุตสาหกรรมจำเป็นต้องลดกำลังการผลิตลงเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน  เนื่องจาก 70% ของระบบอัดอากาศคือต้นกำลังของกระบวนการผลิต และเป็นต้นกำเนิดของการค่าใช้จ่ายในโรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่หมดไปกับค่าไฟฟ้าที่ใช้ในกระบวนการผลิต  ผู้ใช้งานระบบอัดอากาศหลายท่านจึงพยายามคิดค้นหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดการใช้พลังงานในระบบอัดอากาศ  การลดการใช้พลังงานในระบบอัดอากาศในช่วงที่คุณต้องการลดกำลังการผลิตจึงช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว หากคุณต้องการชะลอการผลิตในช่วงนี้ เรามีเคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟฟ้าในโรงงานมาแนะนำค่ะ เคล็ดลับต่อไปนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในระบบอัดอากาศของคุณในช่วงที่คุณต้องการชะลอการผลิต มาดูกันค่ะ

1. ลดสถานะ unload ของเครื่อง ขณะที่เครื่องกำลังทำงาน

Showpad screenshot of DSS load unload
สถานะ unload คือ การที่เครื่องอัดอากาศเดินเครื่องปกติ มอเตอร์ยังคงหมุนอยู่และใช้พลังงานเท่าเดิมทั้งๆ ที่ไม่จำเป็น แต่ไม่มีการผลิตลมอัดออกมา หากกระบวนการผลิตของคุณมีความต้องการลมอัดที่ผันผวน ไม่ว่าจะเป็นปริมาณลมอัดหรือช่วงเวลาการผลิตในช่วงเวลาที่ต่างกัน เพื่อลดอัตราการ unload เราสามารถลดชั่วโมงการทำงานที่ผันผวนนี้ได้ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนแรกในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้เหมาะสม ทำได้อย่างไร? วิธีต่อไปนี้จะช่วยลดสถานะ unload ของเครื่องอัดอากาศคุณ:
  • ติดตั้งคอนโทรลเลอร์หรือตัวควบคุมคอมเพรสเซอร์ (Compressor Controllers) การติดตั้งตัวคอนโทรลเลอร์เป็นวิธีง่ายๆ ในการควบคุมการทำงานของระบบอัดอากาศ กรณีที่คุณมีเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) มากกว่า 1 เครื่องเพื่อลดชั่วโมงการทำงานที่มีสถานะ unload ซึ่งโดยทั่วไปเราจะตั้งค่าให้คอนโทรลเลอร์ควบคุมระบบแบบอัตโนมัติ โดยโปรแกรมจะเข้ามาควบคุมการ Start / Stop การ load / unload ( ในกรณีเครื่องอัดอากาศแบบ Fixed Speed) และควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ (ในกรณีเครื่องอัดอากาศแบบ VSD) หากไม่มีคอนโทรลเลอร์หรือตัวควบคุมคอมเพรสเซอร์นี้แสดงว่าแถบ pressure band ของเครื่องอัดอากาศเครื่องนั้นได้รับการตั้งค่าไว้แบบต่อเนื่อง ซึ่งหมายความว่าเมื่อเครื่องอัดอากาศทำงานไปจนถึงแรงดันที่ตั้งไว้ แผงควบคุมจะสั่งการให้เครื่องอัดอากาศหยุดทำงาน

หากเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมที่มีสถานะ unload ถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการผลิตจะทำให้กินพลังงานมากถึง 25% ของพลังงานที่ใช้เมื่อมีการทำงานแบบเต็มกำลัง ยิ่งไปกว่านั้นหากมีการรั่วไหลในระบบ เครื่องอัดอากาศอาจเปลี่ยนเป็นการทำงานแบบเต็มกำลังเมื่อเครื่องอัดอากาศมีการทำงานในขณะที่ไม่มีการผลิต เราสามารถตั้งข้อสงสัยได้เลยว่ามีลมรั่ว 100% จึงเป็นสาเหตุให้สิ้นเปลืองพลังงานมากยิ่งขึ้น
  • การปิดเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมเมื่อไม่ใช้งาน หากการผลิตของคุณมีความผันผวน โดยอัตราการ load ต่ำกว่า80% ทำให้ความต้องการลมอัดเป็นช่วงๆ (ไม่คงที่) ยิ่งในช่วงที่กำลังการผลิตลดลง เวลาที่ใช้ในการผลิตลมอัดก็สั้นลง คุณอาจจะเลือกประหยัดต้นทุนด้านพลังงานได้มากขึ้นโดยการปิดเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมทั้งหมดแทนที่จะปล่อยให้เครื่องทำงานทั้งที่มีสถานะ unload และเปิดอีกครั้งเมื่อมีกำลังการผลิต เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟในโรงงานไปได้มาก  

2. กำจัดรอยรั่วในระบบอัดอากาศ

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าระบบอัดอากาศ (compressed air) ไม่ควรมีรอยรั่ว เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ หากมีการรั่วไหลในระบบ เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมอาจเปลี่ยนเป็นการทำงานแบบเต็มกำลัง  ดังนั้นเมื่อเครื่องอัดอากาศมีการทำงานในขณะที่ไม่มีการผลิต  เราสามารถตั้งข้อสงสัยได้เลยว่ามีลมรั่ว 100% 

Ultrasonic leak detection still
หากเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมของคุณมีการติดตั้งมาเป็นระยะเวลานานแล้ว ย่อมมีโอกาสเกิดรอยรั่วได้ง่ายกว่าระบบอัดอากาศใหม่ๆ คุณอาจจะสูญเสียอากาศอัดไปถึง 20% จากรอยลมรั่วและ 80% ของลมรั่วนี้คุณไม่สามารถที่จะไม่ได้ยินด้วยซ้ำ หากคุณยังอยู่ในโรงงานและมีเวลาว่างเราขอแนะนำให้ใช้โอกาสนี้ในการตรวจหารอยลมรั่วในระบบอัดอากาศของคุณ เพื่อจะได้แก้ไขได้อย่างทันท่วงที แอตลาส คอปโก้ เองเรามีบริการตรวจเช็ครอยลมรั่วในระบบอัดอากศด้วย Acoustic Camera (AIRScan) หากเราตรวจเช็คแล้วไม่พบรอยรั่วในระบบเราจะไม่มีการคิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น (หากตรวจพบรอยรั่วคุณเสียค่าใช้จ่ายเพียงค่าแรงและค่าเดินทางเท่านั้น ทำให้คุ้มมากกว่าที่คุณจะต้องเสียค่าไฟในปริมาณมากๆ ในแต่ละเดือนแน่นอน)

3. ลดค่า pressure band ลง

CTS ES, Optimization, Pressure Band
ตั้งค่า pressure band ของระบบอัดอากาศทั้งระบบให้เหมาะสม ให้แคบที่สุด ไม่ควรมีค่า pressure band ที่สูงจนเกินไป เนื่องจากตามกฎทั่วไปการลดแรงดันในระบบลง 1 บาร์ (14.5 psi) จะทำให้ประหยัดการใช้ไฟฟ้าได้ 7% ซึ่งการที่ pressure band ลดลง นั้นไม่มีผลต่อการช้งาน ยกตัวอย่างเช่น การลดค่า pressure band ลงทุกๆ 2 psi จะทำให้การใช้พลังงานลดลง 1% หากระบบอัดอากาศของคุณมีการติดตั้งระบบแบบ Centralisation หรือ การรวมระบบควบคุมแบบเซ็นเตอร์กลาง ที่ควบคุมเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมจำนวนหลายตัว สามารถตั้งค่าทำงานภายใต้ pressure band ให้แคบลงได้ แต่ต้องแน่ใจด้วยว่าตรงกับความต้องการอากาศอัดของคุณ คุณยังสามารถตั้งค่า pressure band ให้เครื่องอัดอากาศแต่ละตัวให้ไม่เท่ากันได้โดยอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน จะชวยลดต้นทุนด้านพลังงานได้มากหากมีกำลังการผลิตที่ต่ำ

ดูวีดีโอหรือความสำเร็จในการลดค่าไฟจากลูกค้าของเราได้ที่นี่

จากบทความที่เรานำมาฝากวันนี้นั้น ทำให้คุณทราบถึงวิธีลดพลังงานในระบบอัดอากาศ ซึ่งจะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายในโรงงานได้มากในระยะยาว  หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของแอตลาส คอปโก้ได้โดยตรงที่ Official Line@: atlascopcothailand

                                                            

เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (Air compressor) ไฟฟ้า อากาศอัด 2021

atlas copco thailand 24/7 customer center

แอตลาส คอปโก้ ประเทศไทย (สำนักงานใหญ่)

125 หมู่ 9 นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ ถ.บางนาตราด กม.36 ต.บางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 24130

เคล็ด (ไม่) ลับ . . . ลดค่าไฟในโรงงาน

explainer icon