การใช้ก๊าซไนโตรเจน (Nitrogen) คลุมสารเคมี หรือ Chemical Blanketing

การใช้ก๊าซไนโตรเจน (Nitrogen) คลุมสารเคมี (Chemical blanketing) เป็นการเติมก๊าซไนโตรเจนเข้าไปแทนพื้นที่ว่างในภาชนะที่เก็บสารเคมี เพื่อควบคุมองค์ประกอบของสารเคมีเฉพาะและรักษาสถานะแรงดันให้คงที่ ช่วยยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ให้ยาวนานขึ้นและเป็นการลดอันตรายจากการระเบิด

“ก๊าซไนโตรเจน”ระบบรักษาความปลอดภัยของอุตสาหกรรมเคมีที่ดีเยี่ยมในการป้องกันผลิตภัณฑ์

สนใจแอด LINE เพื่อติดต่อสอบถาม

contact icon

จากบทความที่แล้ว  คุณจะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมพลาสติกได้มีการนำก๊าซไนโตรเจนมาประยุกต์ใช้ป้องกันการระเบิดด้วยการคลุมก๊าซไนโตรเจน (Nitrogen tank blanketing) เนื่องจากในโรงงานส่วนใหญ่จะมีสารไวไฟที่พร้อมจะติดไฟและเกิดการระเบิดได้ทุกเมื่อ จึงต้องป้องกันด้วยการใช้ก๊าซไม่ติดไฟในการป้องกันการระเบิด ซึ่งก็คือก๊าซไนโตรเจนนั่นเอง วันนี้เราจะมาเจาะลึกเบื้องหลังการใช้ก๊าซไนโตรเจนคลุมสารเคมี หรือ Nitrogen tank blanketing กันค่ะ

Nitrogen tank blanketing

การใช้ก๊าซไนโตรเจนคลุมสารเคมี หรือ Chemical Blanketing คืออะไร

คำว่า Blanketing แปลเป็นไทยก็คือการห่มผ้า ในที่นี้ก็คือการนำก๊าซไนโตรเจนมาคลุมสารเคมีนั่นเอง เพื่อยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ให้ยาวนานขึ้นและเป็นการลดอันตรายจากการระเบิด

คำว่า Blanketing แปลเป็นไทยก็คือการห่มผ้า ในที่นี้ก็คือการนำก๊าซไนโตรเจนมาคลุมสารเคมีนั่นเอง  การใช้ก๊าซคลุมสารเคมี (Chemical blanketing) หรือบางครั้งเรียกว่า Tank padding เป็นการเติมก๊าซไนโตรเจนเข้าไปแทนพื้นที่ว่างในภาชนะที่เก็บสารเคมี  เพื่อควบคุมองค์ประกอบของสารเคมีเฉพาะและรักษาสถานะแรงดันให้คงที่ ช่วยยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ให้ยาวนานขึ้นและเป็นการลดอันตรายจากการระเบิด  เพราะก๊าซไนโตรเจนจะช่วยลดการสัมผัสกับก๊าซออกซิเจน รวมทั้งช่วยป้องกันปฏิกิริยาเคมีกับโมเลกุลของออกซิเจน  ผู้ผลิตจึงมักนำก๊าซไนโตรเจนมาใช้ระหว่างกระบวนการผลิต การเก็บรักษา การขนส่ง และการบรรจุขั้นสุดท้าย และสามารถใช้ได้กับบรรจุภัณฑ์หลากหลายขนาด ตั้งแต่ขวดเล็กไปจนถึงถังขนาด 1 ล้านแกลลอน 

 

ไนโตรเจนดีอย่างไร . . . ทำไมต้องเลือกใช้ก๊าซไนโตรเจน? เหตุผลง่ายๆ เลยคือ ไนโตรเจนเป็นก๊าซเฉื่อย (Inert) ไม่ติดไฟ  จึงปลอดภัยกว่าก๊าซอื่นๆ เนื่องจากสามารถป้องกันไฟไหม้และการระเบิดได้ เพราะบางครั้งเมื่อสารเคมีทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนที่อยู่ในอากาศอาจเกิดการระเบิดหรือทำให้ผลิตภัณฑ์เสื่อมสภาพได้ ผู้ผลิตจะฉีดก๊าซไนโตรเจนเข้าไปยังที่ว่างในถังแทนที่ก๊าซออกซิเจน เพื่อรักษาความสมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์เมื่อสัมผัสกับก๊าซออกซิเจน ก๊าซไนโตรเจนจึงถือระบบรักษาความปลอดภัยของอุตสาหกรรมเคมีที่ดีเยี่ยมในการป้องกันผลิตภัณฑ์ 

การใช้ก๊าซไนโตรเจนคลุมสารเคมี หรือ Chemical Blanketing ควรเลือกใช้เครื่องผลิตก๊าซไนโตรเจน (Nitrogen Generator) ขนาดใด?

ปัจจัยสำคัญที่ควรพิจารณาในการกำหนดขนาดเครื่องผลิตก๊าซไนโตรเจน (Nitrogen Generator) สำหรับใช้ในการคลุมสารเคมี หรือ  Chemical Blanketing มีดังต่อไปนี้:

1. อันดับแรกเลย คุณลองพิจารณาว่าเครื่องผลิตก๊าซไนโตรเจนที่คุณกำลังเลือกดูอยู่นั้น มีค่าลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (Standard Cubic Feet Per Minute, SCFM) ตรงตามที่คุณต้องการใช้งานหรือไม่? 2. ต่อมาให้คุณทำสถิติระบุปริมาณการใช้ก๊าซไนโตรเจนแบบบรรจุขวดที่รับมาจากบริษัทผู้ผลิตในแต่ละปีดูสิ แล้วคุณจะได้เห็นการใช้งานจริงๆ ของคุณ 3. จากนั้นตรวจสอบว่าปริมาณการใช้งานก๊าซไนโตรเจนของคุณเพิ่มขึ้นหรือผันผวนหรือไม่? 4. ลองดูว่าปริมาณก๊าซออกซิเจนขั้นต่ำ (MOC) ของคุณอยู่ที่เท่าไหร่? เพื่อดูระดับปริมาณก๊าซออกซิเจนที่จะทำปฏิกิริยากับสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตของโรงงาน 5. ระดับความบริสุทธิ์ของก๊าซไนโตรเจนที่คุณต้องการใช้งานนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณก๊าซออกซิเจนขั้นต่ำ (MOC) ที่คุณใช้งานอยู่และเพิ่มขึ้นได้อีก 3% 6. ต่อมาให้คุณลองทำข้อมูลเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายประจำปีระหว่างการใช้ก๊าซไนโตรเจนแบบบรรจุขวดที่รับมาจากบริษัท (bottled nitrogen) กับการซื้อ เครื่องผลิตก๊าซไนโตรเจน (on-site Nitrogen Generator) มาใช้เองดู เพื่อดูว่าการลงทุนแบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน

นอกจากนี้ อุตสาหกรรมต่างๆ เช่น โรงกลั่น อุตสาหกรรมผลิตยา และบริษัทปิโตรเคมี ต่างก็เลือกใช้ก๊าซไนโตรเจนในการคลุมสารเคมีเพื่อความปลอดภัยและเป็นการรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์

 

หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ไนโตรเจนคลุมสารเคมี หรือมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกซื้อเครื่องผลิตก๊าซไนโตรเจน (on-site Nitrogen Generator)  สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของแอตลาส คอปโก้ได้โดยตรง

คลิกเพื่อแอดไลน์

 

เครื่องผลิตก๊าซไนโตรเจน ระบบการผลิตก๊าซออกซิเจนและก๊าซไนโตรเจน ไนโตรเจน Nitrogen generators เคมีภัณฑ์และปิโตรเคมี