คุณรู้ไหมว่าอะไรคือ Life Cycle Cost สำหรับเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม
“คุณมีความคิดอย่างไรเกี่ยวกับเจ้า Life Cycle Cost นี้” ถ้าคุณอยากรู้ว่ามันมีอะไรบ้างเรามาดูกัน
Atlas Copco ขอยกตัวอย่างง่ายอย่างการซื้อรถยนต์ของคุณเองเลย ฮั่นแน่! เวลาจะซื้อเราต้องรู้ว่าสไตล์หรือดีไซน์ภายนอกภายในเป็นยังไง ตอบโจทย์มากแค่ไหน เครื่องรถยนต์เท่าไหร่กี่แรงม้า เพราะว่าเจ้าเครื่องรถยนต์ขนาด 2000 cc กับ 2500 cc นี่ก็ต่างกันแล้ว ถามว่าซื้อจบแล้ว ไม่ต้องจ่ายเพิ่มไหมคะ อ้าวแล้วรถยนต์ขับเคลื่อนไงอ่ะ น้ำมันจ้า ค่าน้ำมันมาแล้ว ค่าประกันรถยนต์ก็มา ตรวจเช็คครั่งแรกที่รอบเท่าไหร่นะ ถ่ายน้ำมันเครื่องรึยัง ถ้าขับไปแล้ว 5 ปีจะมีค่าซ่อมบำรุงเท่าไหร่นะ บอกแล้วมาช้าแต่มาชัวร์นะ คุณ “Life Cycle Cost” ทีนี้คุณเห็นภาพคำว่า Life Cycle Cost ที่เรายกมารึยังค่ะ
กลับมาที่เรื่องของเราคำว่า Life Cycle Cost มีผลกระทบอย่างไรบ้างกับการลงทุนของคุณทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ถ้าให้พูดง่ายมันก็ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของผู้ลงทุนในการผลิต หัวใจสำคัญของเจ้า Life Cycle Cost มีอะไรบ้าง
- ค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม
- ค่าติดตั้ง ขนย้าย
- ค่าบำรุงรักษา (ค่าบริการและอะไหล่ของเครื่องอัดอากาศ)
- แน่นอน ค่าไฟฟ้าในการทำงานของปั๊มลม
คุณรู้ไหมว่าสัดส่วนของ Life Cycle Cost มีพื้นฐานมาจากอะไรบ้าง ความรู้เบื้องต้นในส่วนของระบบอากาศอัดที่ว่าด้วย Life Cycle Cost สิ่งสำคัญมาจากค่าไฟฟ้าที่เกิดจากการใช้พลังงานในการผลิตลมอัด แบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์คือ
- ค่าพลังงานในการทำงานของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม ~76%
- เงินลงทุนสำหรับซื้อเครื่องอัดอากาศ, ติดตั้งระบบท่อและระบบควบคุม ~14%
- ค่าบำรุงรักษารวมถึงอะไหล่ค่าแรงตลอดอายุการใช้งานเครื่อง ~10%
ฟังกันมาขนาดนี้ทำให้เราทุกคนรู้ว่า “อากาศที่เราหายใจอยู่เนี่ย ฟรี” แต่อากาศอัดที่เราต้องใช้เนี่ย “ไม่ฟรี!! นะ”
อย่าตกใจไป Atlas Copco จะทำให้คุณรู้จักวิธี “เพิ่มเงิน”ใช่ๆ เพิ่มเงิน จากระบบอัดอากาศของคุณเองเนี่ยแหละ ไม่ต้องลงทุนเพิ่มด้วยค่ะ เพียงแค่คุณติดตามอ่านทริคเล็กจาก *Compressor Blogs*
แค่นี้เอง แต่ถ้าอยากรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ก็ติดตามได้ที่นี่เลยค่ะ“compressor wiki, here!”.
ในระหว่างที่เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมของคุณกำลังทำงานอย่างขมักเขม้นนั้นคุณรู้ไหมว่าคุณได้สูญค่าเสียพลังงานหรือค่าไฟไปในช่วงเวลานั้นด้วย ซึ่งเรารู้อยู่แล้วว่าเงินที่ไปกับค่าไฟ จะไปลดในส่วนของผลกำไรของคุณ
มาปรับสมดุลที่จะช่วยให้คุณเพิ่มผลกำไรกันดีกว่าค่ะ
- Starting Power คือกำลังไฟฟ้าขณะstart ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของ starter
- Load Power คือกำลังไฟฟ้าที่ใช้ขับมอเตอร์และสกรูเพื่อให้เกิดปริมาณลมและแรงดันเป็นไปตามที่กระบวนการผลิตต้องการ
- Unload Power คือ กำลังไฟฟ้าที่ใช้ขับมอเตอร์และสกรู ในขณะที่ inlet vale ของเครื่องปิด สภาวะนี้เครื่องอัดอากาศจะไม่มีการจ่ายลมอัด ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานโดยไม่จำเป็น
- Blow off losses คือ การปล่อยหรือระบายอากาศอัดออกจากเครื่อง เพื่อไม่ให้มีลมอัดค้างอยู่ในเครื่อง เป็นสภาวะก่อนเครื่องที่กำลังจะเข้าสู่โหมด Unload 100% จะเห็นได้ว่าถ้าเราสามารถลดค่าไฟของเครื่องอัดอากาศได้ถ้าเราสามารถลด
- Starting Power
- Unload Power
- Blow off loss Power
ซึ่งเครื่องอัดอากาศที่สามารถลดการสูญเสียพลังงานที่ไม่จำเป็นได้คือ เครื่องอัดอากาศแบบ VSD (Variable Speed Drive) compressor ซึ่งต้องเป็น Real VSD จริงๆ เท่านั้นนะจ๊ะ VSD ปลอมๆ แบบที่ไม่ได้แก้ไขเรื่องการ unload หรือ Blow off loss อาจไม่คุ้มกับการลงทุนของคุณ
- Pressure drop คือ แรงดันตกคร่อมในระบบอัดอากาศ ซึ่งในทุกๆ แรงดันที่เพิ่มขั้น 1 bar(g) นั่นหมายถึงเกิดการสิ้นเปลืองพลังงานมาขึ้นถึง 7% หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับการวางระบบ ทำให้เราสูญเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์
Air Leakages คือ หากคุณอ่านบทความนี้ “เสียเงินไปกับรอยรั่วของระบบอัดอากาศใช่ไหม” คุณจะทราบว่าปัญหาของรอยรั่วที่เกิดในระบบอัดอากาศของเครื่องปั๊มลมทำให้คุณเสียเงินจำนวนไม่น้อย จากลมอัดที่รั่วออกไป 10-30% อยากติดตาม Compressor blog ของเราแล้วเอาเทคนิคในการลดค่าพลังงานในระบบอัดอากาศไปใช้กับเครื่องอัดอากาศของคุณนะคะ การทำงานและตรวจสอบง่ายๆ ในการหาปริมาณรอยท่อลมรั่วสำหรับระบบอัดอากาศ หรือการประหยัดค่าพลังงานในช่วงเวลาของ Unload power ได้ง่ายๆ โดยที่คุณอาจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือลงทุนเลย เพียงคุณเข้าร่วมแคมเปญ “ตรวจไม่พบไม่ต้องจ่าย” อ้าวแล้วถ้าตรวจพบจุดรั่วโรงงานฉันต้องเสียอะไรบ้าง คุณมีค่าใช้จ่ายเพียงค่าแรงที่คำนวนตามสัดส่วนของปริมาณพื้นที่ที่เราตรวจสอบให้ค่ะ
แต่สิ่งที่จะได้เพิ่มคือรูปแบบการรายงานผลของรอยรั่วและช่วงเวลาที่เสียค่าพลังงานไป ยังไม่หมดนะคะทีมงานของเราพร้อมให้คำปรึกษาฟรี ขอย้ำฟรี! สำหรับการช่วยลดค่าพลังในระบบเครื่องอัดอากาศหรือระบบการติดตั้งท่อลมจ้า สิ่งสำคัญของท่อลมรั่วเนี่ยคือการรั่วไหลที่ไม่ควรเกิน 5% เมื่อเทียบกับการใช้พลังงานในโรงงานที่เหมาะสม
อ้าว ถ้าเสียเงินค่าแรงแล้วจะเรียกว่าได้เงินจากการตรวจสอบได้ยังไงงั้นมาดูข้อมูลง่ายๆ ที่เราเคยทำให้กับลูกค้าของเรากันค่ะ
ทีมบริการ Atlas Copco ได้ช่วยเหลือลูกค้ามากกว่า 50 รายให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายโดยประมาณ 1500kW (ประมาณ 8.64 ล้านบาทสำหรับค่าพลังงาน) ภายในระยะเวลา 2 เดือนเท่านั้น
ตัวอย่างจากเรื่องจริงของลูกค้าที่เครื่องทำงาน 24 ชั่วโมงต่อ 7 วัน หมายถึงใช้พลังงาน 8,760 ชม./ปี
- เครื่องทำงาน 24 ชม. X 365 วัน = 8,760 ชม./ปี
- ระยะเวลา 2 เดือน 24 ชม. X 60 วัน = 1,440 ชม.
- คำนวนการประหยัดพลังงาน 1,440 x 1,500 = 2,160,000 kWh
- ค่าไฟ 3.5 – 4 บาท/kWh (ขึ้นอยู่กับพื้นที่โรงงาน)
- คุณสามารถประหยัดเงินได้ประมาณ 2,160,000 x 4 = 8,640,000 บาท / 2 เดือน
อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีของธุรกิจ การลงทุนเล็กน้อยสามารถลดต้นทุนโดยรวม (Total cost of ownership) หรือ Life Cycle Cost แต่คุณสามารถได้ต้นทุนคือนในระยะเวลาอันสั้น