ตรวจสอบลมรั่ว Leak detection

แค่แก้ไขจุดลมรั่ว ก็สามารถประหยัดค่าไฟคุณได้มากถึง 30% โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุน

 เช็ครอยรั่วของอากาศอัดง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง Leak detection

Service technician

วันนี้เรามีวิธีการทดสอบเพื่อประเมินค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าที่สูญเสียจากการรั่วของอากาศอัด ซึ่งมักเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบอัดอากาศ และทำให้สูญเสียอากาศอัดได้ถึง 20% ของทั้งหมด

 

โดยวิธีนี้มีเพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้น โดยอย่างแรกคุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าขณะที่ทำการทดสอบนั้นอยู่ในช่วงปิดระบบอัดอากาศและไม่มีการใช้งานใดๆ ค่ะ

           1. เปิดการทำงานเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม เลือกเครื่องที่มีอัตราการไหลประมาณ 40% ของอัตราการไหลทั้งหมด

           2. ปล่อยให้เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมมีความเสถียรในการการโหลด (Load) และอันโหลด (Unload)

            3. จดบันทึกเวลาในการโหลด (Load) และอันโหลด (Unload) โดยบันทึกประมาณ 5-10 ครั้ง แล้วหาค่าเฉลี่ย

 

สูตร : อัตราการรั่วไหล (QL) = (T/(T+t)) x QR

 

โดย 

                        T= เวลาในการโหลด (วินาที)

                        t = เวลาในการอันโหลด (วินาที)

                        QR = อัตราการไหลของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมที่ใช้ในการทดสอบ

 

เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถตรวจสอบการรั่วไหลของอากาศอัด และสามารถเปรียบเทียบอัตราการรั่วไหลกับการไหลทั้งหมดได้อย่างง่ายดาย ได้ออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ของการรั่วไหลของอากาศอัดที่สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ 

ตัวอย่างการคำนวณ

tecnico mantenimiento

 ห้องระบบอัดอากาศประกอบด้วยเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมจำนวน 4 เครื่อง ได้แก่

         เครื่องที่ 1 : 100 ลิตร/วินาที (ทำงาน)

         เครื่องที่ 2 : 100 ลิตร/วินาที (สแตนด์บาย)

         เครื่องที่ 3 : 75 ลิตร/วินาที (ทำงาน)

         เครื่องที่ 4 : 60 ลิตร/วินาที (สแตนด์บาย)

**คำนวณเฉพาะเครื่องที่ทำงาน คือ เครื่องที่ 1 และ เครื่องที่ 3**

 

อัตราการไหลของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม เครื่องที่ 3 : QR (ลิตร/วินาที)

 

 

75

 

 

ค่าเฉลี่ยเวลาในการโหลด :T (วินาที)

 

75
ค่าเฉลี่ยเวลาในการอันโหลด : t (วินาที)

 

35

 

 

อัตราการรั่วของอากาศอัด : QL (ลิตร/วินาที)

 

 

51

 

 

พลังงานไฟฟ้าที่สูญเสีย (KWh/ปี)

 

 

190,865

 

 

ค่าไฟฟ้าต่อ 1 KWh (บาท)

 

 

4 บาท 

 

 

ค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายจากการรั่วของอากาศอัดต่อปี (บาท)

 

 

763,865 บาท

 

% การรั่วไหลของอากาศอัด (QL%)  = 29%

หลังจากคุณคำนวณการรั่วของระบบอัดอากาศแบบคร่าวๆ ตามวิธีนี้แล้ว การระบุตำแหน่งรอยรั่วในระบบอากาศของคุณเป็นขั้นตอนต่อเพื่อแก้ไขปัญหารอยรั่วดังกล่าวนั้นโดยผู้ชำนาญ

ทำอย่างไรล่ะ?

cc-th-how-to-evaluate-air-leaks

Atlas Copco ของเรามีบริการตรวจเช็คเพื่อหาจุดลมรั่วทั้งระบบเครื่องจักรและท่อลมรอบโรงงาน ด้วยเครื่อง Ultrasonic Leakage Detection / Acoustic Camera จะช่วยให้คุณสังเกตและเข้าถึงปัญหาของจุดรั่วต่างๆ ในระบบลมอัดเพื่อการแก้ไขที่ต้นเหตุ ทำให้คุณลดปัญหาการสูญเสียพลังงาน หรือ ค่าไฟ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อปรับปรุงระบบลมอัดได้ในขณะที่เครื่องอัดอากาศกำลังทำงาน โดยไม่ต้องหยุดเครื่องหรือปิดโรงงานการผลิตทุกครั้งที่มีทดสอบการรั่วไหล สามารถประเมินค่าใช้จ่ายผ่านแอป AirLeaks และแก้ไขด้วย RePress ค่ะ

 

สนใจแคมเปญตรวจสอบระบบครบวงจรโดยช่างมืออาชีพของแอตลาส คอปโก้ ประเทศไทย คลิกอ่านรายละเอียด

ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของเรา สามารถติดต่อหาเราได้ที่ official line: @atlascopcothailand หรือช่องทาง  Facebook

                                                            

การบริการทางเทคนิคของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม Compressor คุณภาพอากาศอัด Air Quality Atlas Copco เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม การตรวจสอบและการเพิ่มประสิทธิภาพ