วิธีเลือกปั๊มลมให้เหมาะสมกับธุรกิจคุณ

วิธีเลือกเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) ให้เหมาะสมกับการใช้งานถือเป็นเรื่องยาก ควรพิจารณาจากหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ขนาด ประเภท และชนิดของปั๊มลม แอตลาส คอปโก้เอง ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านระบบอัดอากาศ จึงมีคำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ มาฝากกันค่ะ

วิธีเลือกปั๊มลมให้เหมาะสมกับธุรกิจคุณ

คุณกำลังเลือกซื้อปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศ (air compressor) ตัวใหม่อยู่ใช่ไหม หลายท่านอาจจะมีวิธีหรือเทคนิคการเลือกที่ต่างกันออกไปตามความต้องการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น ขนาด ประเภท และชนิดของปั๊มลม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีในปัจจุบันที่มีความหลากหลายและทันสมัย อาจทำให้คุณเกิดความสับสนได้  การเลือกเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) สักเครื่องให้ถูกต้องเหมาะสมกับการใช้งานจึงเป็นเรื่องยาก  

แอตลาส คอปโก้เอง ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านระบบอัดอากาศ จึงมีคำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ มาฝากกันค่ะ  เราอยากให้คุณลองพิจารณาตอบคำถามตามเช็คลิสดังต่อไปนี้ หากคุณสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้เราเชื่อว่าคุณจะสามารถเลือกเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมที่ตรงใจกับการใช้งานได้อย่างแน่นอนค่ะ 

1. การใช้งานเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมของคุณเป็นอย่างไร? (How are you using the compressor?)

ก่อนจะเลือกซื้อเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) สักเครื่องคุณจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าการใช้งานของคุณเป็นอย่างไร มีการใช้ลมตลอดทั้งวันหรือไม่ หรือมีการใช้งานเป็นครั้งๆ รายชั่วโมง เพื่อที่จะเลือกเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) ที่สามารถจ่ายไฟและแรงดันลมได้เหมาะสม เพราะหากเครื่องมีขนาดเล็กเกินไปก็จะทำงานหนักจนเกินไป หากเลือกเครื่องที่มีขนาดใหญ่เกินกำลังก็จะกินไฟโดยใช่เหตุ ยกตัวอย่างเช่น อู่ซ่อมรถ ที่มีการใช้ลมเพียงบางช่วงของวัน อาจเลือกใช้เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมขนาดเล็กแบบลูกสูบ (piston compressor) ในขณะที่เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม ขนาดใหญ่แบบสกรูโรตารีจะเหมาะกับโรงงานขนาดใหญ่ที่มีการใช้ลมตลอดทั้งวันเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

2. สถานที่ติดตั้งเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมคือที่ใด (Where will you place the compressor)?

อันดับต่อมาคือคุณต้องรู้ว่าความเร็วลมหรืออัตราการไหลของลม (airflow) เป็นอย่างไรเพื่อที่คุณจะต้องวางแผนระบบระบายความร้อนให้เหมาะสมและวางแผนว่าควรจัดวางตัวเครื่องในลักษณะใด เพราะเราไม่สามารถวางเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) ไว้ในพื้นที่ปิดสนิทได้เนื่องจากอาจส่งผลให้เกิดปัญหาความร้อนสูงเกินไปและเครื่องชำรุดก่อนเวลาอันควร การออกแบบห้องคอมเพรสเซอร์จึงควรคำนึงถึงการไหลเวียนของอากาศเสมอ เพื่อให้สามารถดึงอากาศเย็นเข้าสู่ภายในตัวเครื่องและสามารถระบายลมร้อนออกจากห้องได้ 

ข้อนี้คุณสามารถพิจารณาเลือกขนาดเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมให้ตรงกับพื้นที่ว่างที่มีอยู่ได้ หากคุณติดตั้งตัวเครื่องปั๊มลมภายนอกห้องคอมเพรสเซอร์ คุณอาจจะต้องพิจารณาเรื่องของผลกระทบที่เกิดจากเสียงเพิ่มเติมด้วยว่าอยู่ใกล้กับที่พักอาศัยหรือไม่ ผลกระทบที่เกิดจากน้ำคอนเดนเสท รวมไปถึงสภาพอากาศที่อาจเย็นเกินไป

3. การใช้งานของคุณต้องใช้แรงดันเท่าไหร่? (What are your pressure requirements?)

หากต้องการเลือกปั๊มลม คุณจำเป็นต้องทราบว่าการใช้งานลมของคุณต้องใช้แรงดันกี่ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (psi) ซึ่ง pounds per square inch (psi)  หรือ ปอนด์ต่อตารางนิ้ว PSI เป็นหน่วยวัดความดัน ให้คุณพิจารณาจากข้อกำหนด psi ของเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้แรงลมสูงสุด เช่น เครื่องเปลี่ยนยางในอู่ซ่อมรถอาจใช้ลมสูงสุดที่ 150 psi ในขณะที่เครื่องมือช่างต้องใช้เพียง 90-100 psi เท่านั้น ดังนั้นคุณจะต้องเลือกใช้เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) ที่สามารถทำแรงดันได้ 150 psi ตามความต้องการสูงสุด หากอุปกรณ์ใดต้องการ ค่า psi สูงอาจต้องใช้เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบสองขั้นตอนหรือหลายขั้นตอน (multi-stage compressor) เพื่อให้สามารถผลิตแรงดัน psi ได้ตามต้องการ

คุณสามารถติดตั้งตัวควบคุมแรงดัน (regulator) เพื่อลดแรงดันอากาศให้ไม่สูงเกินไป  เนื่องจากการใช้แรงดันที่สูงเกินไปจะทำให้เครื่องมือเสียหายและเปลืองไฟได้

4. อัตราการไหลของลมที่ต้องการเป็นอย่างไร? (What is your required air flow?)

ปริมาณลมดูดหรือปริมาตรอากาศอิสระ (Free Air Delivery : FAD)  โดยทั่วไปมีหน่วยวัดเป็นลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (cfm) เป็นปริมาณการไหลของอากาศ (air flow) ที่ปั๊มลมสามารถสร้างขึ้นได้ตลอดเวลา สามารถบีบอัดออกมาเป็นความจุแบบลูกสูบ (piston displacement) หรือลูกบาศก์ฟุตต่อนาทีจริง (acfm) ดังนั้นการเลือกเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า acfm สามารถทำงานได้ปกติหรือไม่ เนื่องจากนี่คือปริมาณอากาศทั้งหมดที่มีให้ใช้งาน เครื่องมือหรือชิ้นส่วนของเครื่องจักรส่วนใหญ่จะมีข้อกำหนด cfm ดังนั้นคุณสามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อเลือกขนาดเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมของคุณอย่างเหมาะสม

5. แรงม้าจำเป็นหรือไม่ (How much horsepower do you need?)

horsepower หรือแรงม้า เป็นหน่อยวัดกำลังการทำงานของมอเตอร์ที่เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) สามารถผลิตได้  โดยปกติแล้วยิ่งแรงม้าสูงเท่าไหร่ ค่า cfm ก็ยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย แต่อย่าลืมว่าแรงม้า (HP) ไม่ใช่ตัวบ่งชี้ความต้องการใช้งานที่ดี เราขอแนะนำให้คุณพิจารณาจากค่า psi และ cfm ตามการใช้งานจริงของคุณจะดีกว่า แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาให้ทันสมัยขึ้น บริษัทปั๊มลมต่างๆ จึงได้ออกแบบปั๊มลมเพื่อให้ได้ค่า cfm ต่อแรงม้ามากขึ้น หากคุณกำลังอัพเกรดหรือมองหาเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมตัวใหม่ คุณสามารถเลือกซื้อเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมที่มีแรงม้าน้อยกว่าเดิมได้ซึ่งจะทำให้ประหยัดเงินได้มากกว่าทั้งการซื้อและที่สำคัญคือช่วยประหยัดพลังงานได้มหาศาล

6. ถังลมควรมีขนาดเท่าไหร่? (How big should your tank be?)

ขนาดของถังเก็บลมจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าแรงดันอากาศในถังนั้นพร้อมใช้งานหรือไม่  ถังเก็บลมขนาดใหญ่จะช่วยให้เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) ทำงานน้อยลงหากมีแรงดันลมขั้นต่ำหมุนเวียนอยู่ในระบบ ซึ่งถังเก็บลมขนาดเล็กจะต้องทำงานหนักขึ้นเมื่อมีการใช้งานอากาศ เพื่อผลิตอากาศเติมในส่วนที่มีการใช้งานไป

 

การเลือกถังเก็บลมแนวตั้งหรือแนวนอนนั้นไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม  แต่อาจจะส่งผลต่อพื้นที่ใช้งานหรือพื้นที่ติดตั้ง ดังนั้นเราขอแนะนำให้คุณเลือกใช้ถังแนวตั้งหากติดตั้งในพื้นที่ขนาดเล็ก เนื่องจากถังเก็บลมแนวนอนจะเหมาะกับเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมที่มีขนาดใหญ่

 

โดยทั่วไปเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมสกรูโรตารี่แบบความเร็วคงที่ (fixed speed rotary screw compressors) จะมีหลักการคือปั๊มลมหนึ่งตัวจะใช้ถังเก็บลมจำนวน 4 ตัวต่อ cfm ของอากาศที่ผลิตได้ แต่หากเป็นเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบปรับความเร็วรอบมอเตอร์ได้ (VSD compressors) จะใช้ถังเก็บลมเพียง 1 แกลลอนต่อ cfm  สำหรับปั๊มลมแบบลูกสูบ (piston compressors) นั้น การใช้ถังเก็บลมขนาดใหญ่จะทำให้สามารถหมุนเวียนลมได้น้อยลง ดังนั้นการใช้ถังขนาดใหญ่จึงไม่จำเป็นและยังทำให้ปั๊มลมทำงานหนักเกินจำเป็น หากคุณพบว่าปั๊มลมลูกสูบของคุณทำงานหนักเกินกว่า 60% แสดงว่าถึงเวลาอัพเกรดปั๊มลมแล้วล่ะ

7. ควรติดตั้งอุปกรณ์เสริมตัวใดเพิ่มอีกหรือไม่? (What additional features should you think about?)

โดยมากเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) มักจะมาพร้อมคุณสมบัติต่างๆ ที่หลากหลายตามประเภทปั๊มลมเพื่อให้เหมาะกับความต้องการใช้งานที่มากขึ้น โดยสิ่งที่คุณควรพิจารณาเพิ่มเติม ได้แก่ 

  •   ระบบขับเคลื่อนกรณีใช้งานหนัก (heavy-duty drive-trains)
  •  ระบบระบายความร้อนที่ดี (cooling capacity)
  • คุณภาพอากาศที่ใช้เป็นแบบ oil-free หรือ oil-injected
  • ตัวกรองสำหรับรับอากาศขาเข้า (pre-filters)
  • มอเตอร์แบบปรับความเร็วรอบได้ (variable speed drive motors)
  • การอัดแบบหลายขั้นตอน (multi-stage compression)
  • โครงสร้างสแตนเลสหรือเหล็ก (stainless steel หรือ cast iron) 
  • มีการใช้งานในอุณหภูมิแวดล้อมสูง ( high ambient temperature)

ซึ่งคุณควรพิจารณาให้เหมาะสมตามความต้องการเฉพาะของคุณ คุณสามารถปรึกษาวิศวกรฝ่ายขายผู้เชี่ยวชาญของเราเพื่อเลือกตัวเลือกที่เหมาะสมกับคุณ

8. กำลังไฟฟ้าจำเป็นหรือไม่? (What are the compressor’s electrical requirements?)

กำลังไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านเรือนกับโรงงานนั้นไม่เหมือนกัน ปั๊มลมที่ติดตั้งสำหรับใช้งานอุตสาหกรรมนั้นใช้กำลังไฟฟ้ามากกว่าบ้านเรือนมาก โดยกำลังไฟฟ้าตามบ้านเรือนจะเป็นแบบเฟสเดียว 110v สามารถรองรับการใช้งานของปั๊มลมได้สูงสุดเพียง 3 แรงม้าเท่านั้น หากเป็นแบบเฟสเดียวแต่ 230v สามารถรองรับการใช้งานของปั๊มลมได้สูงสุดเพียง 5 แรงม้า ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยหากต้องการใช้กำลังไฟเพิ่มขึ้นเราขอแนะนำให้เปลี่ยนเป็นแบบ 3 เฟส

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกปั๊มลม ได้ ที่นี่ หรือต้องการปรึกษา สอบถามผู้เชี่ยวชาญของแอตลาส คอปโก้ได้ โดยตรงที่ Official Line@: atlascopcothailand  หรือช่องทางเพจ  Facebook

                                                            

Screw compressors เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมชนิดไร้น้ำมัน เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม ตัวปรับความเร็วรอบมอเตอร์ VSD Piston compressor เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบหล่อลื่นด้วยน้ำมัน (Oil-lubricated compressors) ตัวปรับความเร็วรอบมอเตอร์ VSD เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบหล่อลื่นด้วยน้ำมัน (Oil-lubricated compressors) เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมสกรู ความเร็วคงที่ เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมชนิดไร้น้ำมัน เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (Air compressor) Tooth compressors เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบลูกสูบ เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมสกรูรุ่นใหม่ 2022

วิธีเลือกปั๊มลมให้เหมาะสมกับธุรกิจคุณ

explainer icon