ลดปัญหาแรงดันตก (Pressure drop) ในระบบอัดอากาศของคุณ
ปัญหาแรงดันตกในระบบอัดอากาศหรือ Pressure drop เป็นการบอกว่าแรงดันในระบบอัดอากาศที่จ่ายออกจากเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (Air compressor) ไปยังจุดที่ใช้งานอากาศอัดจริงนั้นลดลง โดยจะเกิดขึ้นในช่วงที่อากาศอัดเคลื่อนที่ผ่านระบบกรองอากาศและระบบจ่ายลมอัด (Treatment and distribution system) ซึ่งระบบอัดอากาศที่ดีที่ได้รับการออกแบบมาอย่างเหมาะสม ควรมีการสูญเสียแรงดัน (Pressure drop) ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ของแรงดันขาออก (Discharge pressure) จากเครื่องคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมโดยวัดจาก Output ของถังเก็บลมจนถึงจุดใช้งาน
สาเหตุการตกของแรงดัน (Pressure drop) เกิดจากอะไร?
ปัญหาการเกิดแรงดันตก (Pressure drop) นั้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่หลักๆ เลยคือ “สิ่งกีดขวาง” ในระบบการไหลของลม (flow rate) ภายในท่อ ความขรุขระของผิวท่อภายในระบบอัดอากาศ จะทำให้การเคลื่อนที่ของอากาศมีปัญหา ซึ่งสิ่งกีดขวางทุกประเภทที่อยู่ในระบบอัดอากาศจะส่งผลให้เกิดแรงต้านทานต่อการไหลของอากาศและทำให้แรงดันลดลง ยิ่งผิวท่อภายในขรุขระเท่าใด อากาศก็ยิ่งเคลื่อนที่ได้ลำบาก หรือเกิดปัญหาแรงดันตก (Pressure drop) สูงนั่นเอง
โดยปัจจัยที่จะทำให้แรงดันตก (Pressure drop) แบ่งออกเป็นสองปัจจัยหลักๆ คือ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพอากาศ ได้แก่ เครื่องแยกอากาศ (Air separators) เครื่องแยกน้ำมัน (Lubricant separators) ตัวระบายความร้อน (Aftercoolers) ตัวระบายความชื้น (Moisture separators) เครื่องทำลมแห้ง (Air dryers) และไส้กรองอากาศ (Air filters) และอีกปัจจัยหนึ่งคือในส่วนของการจ่ายอากาศ โดยจุดที่มักจะพบว่าแรงดันลดลงมากๆ (Pressure drop) คือจุดที่มีการใช้ท่อที่มีขนาดเล็กกว่าการใช้งาน หรือท่อมีรอยลมรั่ว การใช้ข้อต่อท่อแบบตรง ข้อต่อท่อแบบงอ การใช้ประกับเพลา (Coupling) ที่สามารถถอดออกได้ง่าย ไส้กรองอากาศ ตัวควบคุมและน้ำมันหล่อลื่นก็มีส่วนทำให้แรงดันตก นอกจากนี้ปัญหาแรงดันตก (Pressure drop) สามารถเกิดขึ้นได้เมื่ออุณหภูมิและการไหลของอากาศสูงขึ้นถึงจุดสูงสุดระหว่างการจ่ายลมอัดไปยังจุดใช้งาน ในระบบที่แรงดันตก (Pressure drop) มากๆ ส่งผลให้การไหลผ่านระบบใช้พลังงานมากขึ้น ทำให้ต้องใช้ปั๊มลมหรือมอเตอร์ที่มีกำลังมากขึ้น
วิธีแก้ไขปัญหาแรงดันตก (Pressure drop)
การลดปัญหาแรงดันตก (Pressure drop) นั้นจำเป็นต้องทำร่วมกับขั้นตอนการออกแบบระบบอัดอากาศ ตั้งแต่ก่อนเริ่มทำการติดตั้ง รวมไปถึงขั้นตอนการบำรุงรักษาระบบ เช่น การเลือกขนาดท่อให้เหมาะสม การเลือกเครื่องคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลม (air compressor) เครื่องระบายความร้อน (aftercoolers) เครื่องแยกความชื้น (moisture separators) เครื่องทำลมแห้ง (Air dryer) และ ตัวกรองอากาศอัด (Air filter) เพื่อให้เกิดปัญหาแรงดันตกน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เมื่อเกิดสภาวะการทำงานสูงสุดเต็มกำลังที่กำหนด เมื่อทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้วควรปฏิบัติตามขั้นตอนการบำรุงรักษาที่ผู้ผลิตแนะนำและจัดทำเป็นเอกสารบันทึกไว้ วิธีต่อไปนี้เป็นเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่ช่วยลดปัญหาแรงดันตก (pressure drop) ในระบบอัดอากาศได้:
ออกแบบระบบการจ่ายลมในระบบอัดอากาศให้ถูกต้องตามความเหมาะสมกับการใช้งาน
หมั่นดูแลรักษาไส้กรองอากาศและไดรเออร์หรือเครื่องทำลมแห้ง dryer เป็นประจำเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากความชื้น เช่น การกัดกร่อนของท่อ
ควรเลือกตัวระบายความร้อน (aftercoolers) เครื่องแยกน้ำหรือน้ำมัน (separators) เครื่องทำลมแห้ง (dryer) และไส้กรองฟิลเตอร์ (filter) ที่มีคุณภาพ มีโอกาสเกิดแรงดันตกได้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ลดระยะทางที่อากาศต้องเคลื่อนที่ในระบบจากจุดจ่ายลมอัดไปยังจุดใช้งาน รวมถึงลดจำนวนการใช้ข้อต่อท่อตรง (tees) และข้อต่อท่องอ (elbows) ในระบบจ่ายลม พยายามใช้อุปกรณ์ต่างๆ ให้น้อยที่สุด
เลือกใช้ ตัวควบคุมแรงดัน น้ำมันหล่อลื่น ท่อและข้อต่อ ที่มีคุณสมบัติที่ดีที่สุดจะช่วยให้ความดันแตกต่างหรือความดันดิฟเฟอเรนเชียล (differential pressure, ΔP) ต่ำ
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของเรา สามารถติดต่อหาเราได้ที่ official line: @atlascopcothailand หรือช่องทาง Facebook.
Wiki สำหรับระบบอากาศอัด เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม Compressed Air Tips ทางเทคนิค Airnet การตรวจสอบและการเพิ่มประสิทธิภาพ