คุณภาพของอากาศอัดกับมาตรฐาน ISO เกี่ยวข้องกันอย่างไร?

อากาศอัด (compressed air) กับมาตรฐาน ISO เป็นสิ่งสำคัญ เราจึงใช้มาตรฐาน ISO class ต่างๆ ตั้งแต่ ISO 8573-1:2010 เป็นมาตรฐานวัดระดับคุณภาพของลมอัดเพื่อให้ได้คุณภาพอากาศที่เหมาะสมกับการใช้งาน

คุณภาพของอากาศอัดกับมาตรฐาน ISO

เพราะคุณภาพของอากาศอัดมีผลต่อผลิตภัณฑ์ ตัวกรองอากาศจึงมีความสำคัญ

“คุณภาพ (quality)” เป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องการ ไม่ว่าจะเลือกซื้อสินค้าหรือเลือกบริโภคสิ่งใด เรามักคำนึงถึงเรื่องคุณภาพสินค้าเป็นหลักในการตัดสินใจก่อนเสมอ คุณเองในฐานะผู้ผลิตจึงควรตระหนักถึงเรื่องคุณภาพในกระบวนการผลิตด้วย 

แอตลาส คอปโก้ เราเข้าใจผู้ผลิต ในฐานะผู้นำด้านระบบอัดอากาศ เราจึงอยากให้คุณทำความเข้าใจในเรื่องของคุณภาพอากาศอัด (compressed air) ที่ใช้ในกระบวนการผลิต โดยบทความในวันนี้ เราจะมาพูดถึงเรื่องของ ISO class ต่างๆ ตั้งแต่ ISO 8573-1:2010 ที่เราใช้เป็นมาตรฐานวัดระดับคุณภาพของลมอัดเพื่อให้ได้คุณภาพอากาศที่เหมาะสมกับการใช้งานกัน เพราะความบริสุทธิ์ของอากาศอัดเป็นกุญแจสำคัญในการปกป้องความสมบูรณ์และประสิทธิภาพในการผลิต

ISO 8573-1:2010 มาตรฐานชี้วัดคุณภาพอากาศอัด

จินตนาการไม่ออกเลยว่าโลกเราจะเป็นอย่างไร หากไม่มีอากาศอัด (compressed air) โรงงานต่างๆ จะอยู่อย่างไร พวกเครื่องจักรต่างๆ ระบบขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นรถไฟ คงจะหยุดทำงานไปชั่วคราว เรือขนส่งในมหาสมุทรก็คงจะเคว้งคว้างไปเลยทีเดียว แต่คุณทราบหรือไม่ว่าคุณภาพอากาศอัดที่เราใช้กันในแต่ละอุตสาหกรรมนั้นไม่เหมือนกัน เช่น อุตสาหกรรมผลิตอาหารและยา จำเป็นต้องใช้คุณภาพอากาศอัดที่สะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ เรื่องคุณภาพอากาศอัดก็ยังคงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่่คุณควรตระหนัก เพื่อความน่าเชื่อถือและเป็นการยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ด้วย

ระบบอัดอากาศที่ดีควรจะมีตัวกรอง (Air filter)

อันดับแรก หากคุณต้องการระบบอัดอากาศ (compressed air) ที่มีคุณภาพปราศจากการปนเปื้อน คุณจำเป็นต้องติดตั้งตัวกรอง (Air filter) เพิ่ม ซึ่งผู้ผลิตส่วนใหญ่มักจะมีการติดตั้งตัวกรอง (Filter) ตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป นั่นเป็นเพราะว่าอากาศที่ผ่านเข้ามาในเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) นั้นอาจมีสิ่งปนเปื้อนมากมาย เช่น ฝุ่นละออง เศษทราย เกลือ เม็ดน้ำตาล ผงคาร์บอนสีดำ สนิม ผงซีเมนต์ รวมไปถึงแบคทีเรียและไวรัส สิ่งปนเปื้อนเหล่านี้สามารถเป็นอันตรายต่อเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมของคุณได้ นั่นอาจส่งผลถึงกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ของคุณด้วย การติดตั้งตัวกรองเสริมจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อกรองอากาศให้มีประสิทธิภาพและสร้างความน่าเชื่อถือของการผลิตให้บริษัทคุณ แต่จะทราบได้อย่างไรว่าอากาศอัด(compressed air) ของคุณควรบริสุทธิ์เพียงใดและคุณควรซื้อตัวกรองแบบใด มาดูกันค่ะ!

ทำไมคุณต้องรู้ว่าคุณภาพอากาศอัดของคุณบริสุทธิ์เพียงใด?

หากอยากทราบว่าระบบอัดอากาศของคุณควรบริสุทธิ์เพียงใดและคุณควรซื้อตัวกรองแบบใด มีเหตุผลหลักๆ สองประการ มาดูกันค่ะ!

● การใช้งานระบบอัดอากาศบางอุตสาหกรรมจำเป็นต้องใช้อากาศอัด (compressed air) ที่มีคุณภาพสูง เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมนั้นๆ และหลีกเลี่ยงการเสียค่าปรับกรณีไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด

● ตามกฎทั่วไปแล้ว ยิ่งต้องการความบริสุทธิ์ของอากาศอัดมากเท่าไหร่ กระบวนการผลิตก็จะยิ่งมีราคาสูงตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น ไส้กรอง (Filter) หรือเครื่องทำลมแห้ง (Dryer) ก็จะมีค่าไฟฟ้าตามมา ดังนั้นการเลือกใช้ความบริสุทธิ์ให้เหมาะสมกับการใช้งานจะช่วยให้คุณประหยัดเงินในกระเป๋าและยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

จะทราบได้อย่างไรว่าการใช้งานของคุณควรใช้คุณภาพระดับใด?

สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป การเลือกค่าความบริสุทธิ์ของอากาศอัดก็เหมือนกับงานที่น่าปวดหัวงานหนึ่ง อย่างไรก็ตามเรามีสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น นั่นก็คือ มาตฐาน ISO 8573-1:2010  

 

ISO 8573 เป็นมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของลมในระบบอากาศอัด (compressed air) ซึ่งจะแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ ตามสิ่งเจือปนในอากาศจำพวกฝุ่นละออง น้ำ ก๊าซ การปนเปื้อนทางจุลชีววิทยา และน้ำมัน 

 

ซึ่งมาตรฐาน ISO 8573-1:2010 นี้จะเป็นตัวชี้วัดระดับความบริสุทธิ์ของอากาศ ทำให้ผู้ใช้งานระบบอัดอากาศสามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม

ISO 8573-1:2010 คืออะไร?

มาตรฐาน ISO แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามประเภทของสิ่งปนเปื้อน ได้แก่ กลุ่มที่หนึ่ง อนุภาคของแข็ง ฝุ่นละอองต่างๆ กลุ่มที่สอง อนุภาคของเหลว ละอองและไอน้ำ กลุ่มที่สาม อนุภาคของน้ำมัน ละอองน้ำมันและไอน้ำมัน ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะมีระดับความบริสุทธิ์ที่แตกต่างกันถึง 10 ระดับ (อนุภาคของแข็งมี 8 ระดับ ของเหลว 10 ระดับและน้ำมัน 5 ระดับ)  

 

การเลือกระดับความบริสุทธิ์ของอากาศอัด (compressed air) ให้เหมาะสมกับการใช้งานจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้ใช้งานระบบอัดอากาศ วิธีการดูง่ายๆ เลยคือ ยิ่งตัวเลขระดับมีค่าน้อยมากเท่าไหร่ นั่นหมายความว่าอากาศก็ยิ่งบริสุทธิ์มากเท่านั้น เช่น อากาศระดับ class 4 จะมีสิ่งปนเปื้อนมากกว่าอากาศระดับ class 3

  

ในกรณีของอนุภาคของแข็ง มาตรฐานระดับ class ความบริสุทธิ์จะเป็นตัวกำหนดปริมาณสิ่งปนเปื้อนในอากาศที่สามารถบรรจุได้ต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนนี้จะแบ่งย่อยเพิ่มเติมตามขนาดอนุภาค ตัวอย่างเช่น class 1 ต้องมีอนุภาคขนาดไม่เกิน 20,000 หรือน้อยกว่าที่มีขนาด 0.1-0.5 ไมครอน 400 หรือน้อยกว่าอนุภาคที่มีขนาด 0.5-1 ไมครอนและ 10 หรือน้อยกว่าอนุภาคที่มีขนาด 1-5 ไมครอน (หน่วยไมครอน เป็นหน่วยวัดขนาดและเท่ากับ 1/1000 ของมิลลิเมตร) class 2 ต้องการอากาศที่มีอนุภาค 400,000 หรือน้อยกว่าที่มีขนาด 0.1-0.5 ไมครอน 6,000 หรือน้อยกว่าอนุภาคที่มีขนาด 0.5-1 ไมครอนและ 100 หรือน้อยกว่าอนุภาคที่มีขนาด 1-5 และ class 3 จะไม่ได้ระบุปริมาณของอนุภาคและเริ่มต้นด้วย class 6 มาตรฐาน ISO ระบุเฉพาะความเข้มข้นของมวลของอนุภาคในหน่วยมิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเท่านั้น

 

ในกรณีของเหลว ระดับ class จะเข้มงวดมากขึ้น ตามระดับค่า pressure dew point ซึ่งเริ่มต้นที่ class 7 โดยพิจารณาจากปริมาณของเหลวในอากาศที่มีหน่วยเป็นกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากค่า pressure dew point ของ class 1 ต้องมีอย่างน้อย -70 องศาเซลเซียส ในขณะที่ class 9 สามารถมีน้ำหรือไอน้ำได้มากถึง 5-10 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร

เลือกตัวกรองอย่างไรให้ถูกต้องตามมาตรฐาน ISO

ตอนนี้คุณก็พอจะทราบแล้วว่าการใช้งานอากาศอัด (compressed air) ของคุณควรเลือกใช้มาตรฐาน ISO ระดับ class ใด ควรเลือกใช้ตัวกรองแบบใด เมื่อเราทราบคุณภาพอากาศที่ต้องการ ก็จะทำให้คุณเลือกตัวกรองได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ตัวกรองอากาศรุ่น UD+ (UD+ filters) จาก Atlas Copco เป็นตัวกรองที่ได้มาตรฐาน ISO class [1:-:2] นั้นหมายความว่าตัวกรองนี้สามารถกรองได้ทั้งอนุภาคของแข็ง ซึ่งก็คือ class 1 และสามารถกรองน้ำมัน ซึ่งก็คือ class 2 แต่จะไม่สามารถกรองอนุภาคของเหลวได้ เป็นต้น

ตัวกรอง (Filters) และการนำไปประยุกต์ใช้งาน

เมื่อคุณทราบแล้วว่าการใช้งานอากาศอัด (compressed air) ของคุณควรเลือกใช้มาตรฐาน ISO ระดับ class ใด คราวนี้คุณก็สามารถวางแผนการติดตั้งอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการใช้งานได้ 

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวกรองอากาศ (Air filter) ได้ ที่นี่ หากคุณต้องการความช่วยเหลือ หรือกำลังตัดสินใจว่าควรเลือกใช้อุปกรณ์ใด ก็สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญ จากแอตลาส คอปโก้ Atlas Copco ได้โดยตรงที่ Official Line@: atlascopcothailand เรายินดีให้คามช่วยเหลือค่ะ  

                                                            

Filters Air dryers ไดรเออร์ (Air dryer) การบำบัดก๊าซและอากาศ Refrigerant dryers ตัวกรอง ไดรเออร์ดูดความชื้น

atlas copco thailand 24/7 customer center

แอตลาส คอปโก้ ประเทศไทย (สำนักงานใหญ่)

125 หมู่ 9 นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ ถ.บางนาตราด กม.36 ต.บางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 24130

คุณภาพของอากาศอัดกับมาตรฐาน ISO เกี่ยวข้องกันอย่างไร?

explainer icon