วิธีจัดการความชื้นในระบบอัดอากาศ
คุณกำลังเจอปัญหาความชื้นในระบบอัดอากาศอยู่ใช่ไหม? แอตลาส คอปโก้ ช่วยคุณได้ค่ะ มาดูกันเลย!
5 วิธี ที่จะช่วยให้คุณจัดการปัญหาความชื้นในระบบอัดอากาศ
อันดับแรกเลยคุณต้องทราบก่อนว่าความชื้นมีอยู่ในอากาศทุกแห่งหน แม้เราจะมองไม่เห็นก็ตาม แต่เมื่ออากาศผ่านเข้าสู่กระบวนการบีบอัดในระบบอัดอากาศและระบายความร้อนเรียบร้อยแล้ว ความชื้นในอากาศจะเกิดการควบแน่นกลายเป็นของเหลว นี่แหละคือตัวอันตรายที่ทำให้เกิดปัญหาในระบบอัดอากาศ ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย เนื่องจากระบบอัดอากาศควรจะแห้ง ปราศจากการปนเปื้อนของน้ำ หากมีสิ่งเหล่านี้ปนเปื้อนก็อาจทำให้ระบบอัดอากาศทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพมากเท่าที่ควร ซึ่งระบบอัดอากาศที่ดีควรมีความชื้นสัมพัทธ์น้อยกว่า 50% เพื่อป้องกันอุปกรณ์ผุกร่อน
อันตรายที่เกิดจากความชื้นในระบบอัดอากาศ
ทำไมผู้ใช้งานระบบอัดอากาศมีความกังวลและกลัวปัญหาด้านความชื้นในลมอัด ความชื้นในอากาศอัดสร้างความเสียหายขนาดนั้นเลยหรือ มาดูกันค่ะ:
การกำจัดความชื้นเพื่อป้องกันการกัดกร่อนที่อาจเกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ใช้งานระบบอัดอากาศ เพราะเมื่อมีการกัดกร่อน ฝุ่นละอองที่เกิดจากสนิมและตะกรันจะทำให้ท่อลมเกิดรอยร้าวและเสียหายได้ ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดคืออาจทำให้ท่อลมรั่ว เป็นเหตุให้กินพลังงานและผลิตลมอัดได้ไม่มีประสิทธิภาพ เราจึงควรหาทางแก้ไขเพื่อรับมือไม่ให้เกิดความเสียหาย
ซึ่งวิธีที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่เลือกใช้กำจัดความชื้นคือการเพิ่ม
Air Dryer (เครื่องทำลมแห้ง) เข้ามาในระบบอัดอากาศ วิธีนี้เราสามารถกำจัดความชื้นออกจากอากาศอัดได้เกือบ 100% เลยเพราะอากาศจะได้รับความร้อน จากนั้นความชื้นที่อยู่ในอากาศจะอิ่มตัวและกลั่นออกมาเป็นน้ำ เมื่ออากาศเย็นลง น้ำที่เป็นของเหลวจะเริ่มควบแน่น เนื่องจากโดยทั่วไปอากาศจะเย็นลงก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิต การเป่าลมอัดให้แห้งก่อนจะนำไปใช้งานในระบบจึงมีประสิทธิภาพมากกว่า
ถึงแม้ว่าคุณจะมี
ไส้กรอง (filters) และเครื่องแยกน้ำ (water separators) เพื่อขจัดน้ำในระบบก็ตาม แต่ทั้งไส้กรองและ separator ก็ไม่สามารถขจัดความชื้นในรูปแบบไอน้ำได้ คุณจำเป็นต้องใช้เครื่องทำลมแห้งหรือ air dryer อยู่ดี
การกำจัดความชื้นออกจากอากาศอัด
นอกจากการใช้เครื่องทำลมแห้งแล้ว เรายังมีวิธีอื่นๆ ในการกำจัดความชื้นออกจากระบบลมอัดอีก มีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ:
1. เครื่องแยกน้ำพร้อมระบายความร้อน (Cooling plus separation) ดูเหมือนจะเป็นวิธีที่เข้าท่า เนื่องจากอากาศอัดที่ร้อนจัดจะถูกระบายความร้อนออกทำให้เย็นตัวลง ซึ่งช่วยให้น้ำจำนวนมากกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ เมื่อน้ำกลั่นตัวแล้วก็สามารถแยกน้ำออกจากอากาศได้ โดยทั่วไปแล้วจะติดตั้งคู่กับเครื่องระบายความร้อนหรืออาฟเตอร์คูลเลอร์
(aftercooler) ที่ทำให้อากาศอัดอุณหภูมิสูงๆ เย็นตัวลงและตกตะกอนเป็นหยดน้ำ
2. กระบวนการบีบอัดอากาศที่มากกว่าการใช้งานจริง (Over-compression) อาจเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการทำให้อากาศอัดแห้ง วิธีการคือเราต้องตั้งค่าแรงดันที่ใช้ในการบีบอัดอากาศให้สูงกว่าแรงดันใช้งานจริง (working pressure) แต่วิธีนี้ค่อนข้างจะกินพลังงานจึงเหมาะกับการใช้งานที่มีอัตราการไหลของลมในปริมาณน้อยเท่านั้น
3. เครื่องทำลมแห้งชนิดเมมเบรน (Membrane drying) เครื่องทำลมแห้งชนิดนี้จะมีขนาดไม่ใหญ่นัก เหมาะกับการใช้งานเฉพาะจุดที่ค่อนข้างซีเรียสเรื่องความชื้น (Critical Point of Use) เครื่องทำลมแห้งแบบ Membrane สามารถทำ Dew Point ได้สูงถึง -40 °C (PDP) ไม่มีการใช้ไฟฟ้า ทำให้ไม่สิ้นเปลืองพลังงาน เนื่องจากลมอัดที่มีความชื้นจะผ่านเส้นใยไฟเบอร์ (Bundle of Hollow fiber) โดยผนังของเส้นใยไฟเบอร์นี้ ถูกออกแบบพิเศษให้สามารถดักจับไอน้ำ (water vapor) ในลมอัดได้ เพื่อที่จะคลายความชื้นออกจากผนังของเส้นใยไฟเบอร์นี้ ลมอัดที่แห้งส่วนหนึ่ง จะถูกนำมาดึงความชื้นออกจากผนังเส้นใยไฟเบอร์นี้ทางด้านนอกของท่อเส้นใยไฟเบอร์ และระบายออกสู่บรรยากาศ
4. การกำจัดความชื้นในลมอัดด้วยสารดูดซับ (Absorption drying) เป็นกระบวนการทางเคมีที่สามารถดูดซับความชื้นได้ด้วยวัสดุทางสังเคราะห์ทางเคมี เช่น โซเดียมคลอไรด์หรือกรดซัลฟิวริก (sodium chloride or sulfuric acid) ซึ่งวัสดุที่ใช้ดูดซับอาจเป็นของแข็งหรือของเหลวก็ได้ วิธีนี้พบได้น้อยกว่าวิธีการทำให้กำจัดความชื้นในระบบอัดอากาศวิธีอื่นๆ
5. การทำให้อากาศอัดแห้งด้วยการดูดซับ (Adsorption drying) การทำให้อากาศอัดแห้ง และวิธีนี้จำเป็นต้องอาศัยอัตราการไหลของความชื้นที่เคลื่อนที่ผ่านสารดูดความชื้นหรือ “desiccant” เพื่อทำให้อากาศแห้ง โดยสารทั่วไปที่ใช้ ได้แก่ ซิลิกาเจล (silica gel), สารดูดความชื้นโมเลกุลาร์ ซีฟ (molecular sieves), สารประกอบเซรามิกอลูมินา (Alumina) รวมไปถึงเครื่องทำลมแห้งแบบดูดซับ (regenerated adsorption dryers) เป็นเครื่องทำลมแห้งแบบใช้เม็ดสารดูดความชื้นในการไล่อากาศชื้น ที่เรียกกันอีกชื่อว่า PSA (Pressure swing adsorption), เครื่องทำลมแห้งแบบใช้เม็ดสารดูดความชื้นที่อาศัย Heater มาช่วยในการ Purge (heated purge regenerated dryers) หรือเราเรียกกันอีกชื่อว่า TSA (Temperature swing adsorption), เครื่องทำลมแห้งชนิดโบลเวอร์ (blower regenerated dryers) ที่ช่วยลดการสูญเสียลมอัดในการ Purge และสุดท้ายคือเครื่องทำลมแห้งหรือ Air Dryer แบบใช้เม็ดสารดูดความชื้น (heat of compression dryers) ซึ่งมีการใช้ความร้อนจากการอัดของปั๊มลมแบบไร้น้ำมันหรือ Oil-free air compressor เพื่อฟื้นฟูสภาพของเม็ดสาร
หากคุณกำลังเผชิญปัญหาความชื้นในระบบอัดอากาศอยู่ล่ะก็ แอตลาส คอปโก้ หวังว่าบทความนี้จะช่วยคุณแก้ปัญหาได้ หากคุณมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของแอตลาส คอปโก้ได้โดยตรงที่ Official Line@: atlascopcothailand
วิธีจัดการความชื้นในระบบอัดอากาศ