วิธีพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพลมอัดในระบบอัดอากาศของคุณ
รู้หรือไม่ว่า 40% ของค่าไฟในโรงงานส่วนใหญ่นั้นล้วนมาจากเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม?
อ้างอิงจากสถาบันอัดอากาศและก๊าซ (Compressed Air and Gas Institute หรือ CAGI) พบว่าหากเราดูแลรักษาระบบอัดอากาศ (Compressed Air System) ได้ไม่ดีพอ อาจทำให้คุณสูญเสียค่าไฟจำนวนมากกว่า 3.2 พันล้านดอลลาร์โดยใช่เหตุ เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่เราใช้ไปโดยปกตินั้นสูงกว่าราคาที่เราซื้อเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมหลายเท่า ดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมก็จะช่วยให้คุณประหยัดเงินได้นั่นเอง นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งานให้กับระบบอัดอากาศของคุณอีกด้วย สิ่งสำคัญหากคุณจะติดตั้งไส้กรอง (filters) และเครื่องระบายความร้อน (aftercoolers) ใหม่ คือคุณต้องเข้าใจระบบการทำงานของปั๊มลมแต่ละชนิดด้วย
ปัญหาที่พบบ่อยในระบบอัดอากาศ
ของแข็ง ของเหลวและก๊าซ ล้วนส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบอัดอากาศ โดยปัญหาที่พบบ่อยนั้นมักเกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก ความชื้นสะสมรวมถึงสิ่งปนเปื้อนจากสารหล่อลื่น
ฝุ่นละอองขนาดเล็ก
ฝุ่นและสสารของแข็งขนาดเล็กคือสิ่งที่ลอยปะปนอยู่ในอากาศที่เราหายใจ แม้ว่าสิ่งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทั่วไปมากนัก แต่ฝุ่นและสสารขนาดเล็กเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานระบบอัดอากาศ ทำให้เครื่องอัดอากาศผลิตลมอัดได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ การที่เราจะมองเห็นฝุ่นหรือสสารเหล่านี้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยปกติแล้วขนาดของอนุภาคที่สายตาคนเราสามารถมองเห็นได้อยู่จะที่ประมาณ 40 ไมครอนหรือใหญ่กว่าเท่านั้น ตัวอย่างที่ทำให้เห็นภาพชัดขึ้น เช่น ขนาดเส้นผมของมนุษย์เรามีขนาดประมาณ 50-70 ไมครอน ในขณะที่ฝุ่นละอองที่ส่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพลมอัดนั้นมีขนาดเล็กเพียง 3 ไมครอนเท่านั้น แม้แต่ฝุ่นที่มีขนาดเล็กเพียง 1/10 ของไมครอนก็อาจส่งผลเสียต่อระบบอัดอากาศได้ ความเสี่ยงของฝุ่นละอองในระบบอัดอากาศจะเพิ่มขึ้นตามสถานที่และการใช้งาน ตัวอย่างเช่น โรงเวิร์คชอปงานไม้หรือโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ผลิตขี้เลื่อยออกมาจำนวนมาก โดยขี้เลื่อยเหล่านี้เป็นอนุภาคขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อระบบอัดอากาศ ฝุ่นละอองส่วนใหญ่จะสร้างความเสียหายที่จุดสุดท้ายในระบบอัดอากาศ หากเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมมีฝุ่นปริมาณมาก ทำให้จำเป็นต้องใช้น้ำมันหล่อลื่นมากกว่าปกติ ซึ่งไม่เพียงสิ้นเปลืองเท่านั้น แต่อาจทำให้มีปริมาณน้ำมันในระบบอัดอากาศมากเกินไป
ความชื้นสะสม
ความชื้นภายในระบบอัดอากาศเป็นสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อย โดยความชื้นนั้นสามารถทำลายท่อและทำลายประสิทธิภาพของระบบอัดอากาศได้ ขณะที่เครื่องอัดอากาศผลิตอากาศร้อน (ซึ่งเก็บสะสมความชื้นไว้จำนวนมาก) อากาศจะเคลื่อนตัวออกจากเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมจะเริ่มเย็นลงและเกิดการสะสมความชื้น ซึ่งอาจทำให้เกิดสนิมบนท่อได้ สนิมเหล่านี้ทำให้ระบบการทำงานของเครื่องอัดอากาศเสียหายและทำให้เครื่องพังได้ในที่สุด แม้จะไม่เกิดสนิม แต่ความชื้นก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบอัดอากาศของคุณ ทำให้คุณต้องจ่ายค่าบำรุงรักษาเพิ่มขึ้น
การใช้น้ำมันหล่อลื่นน้อยหรือมากเกินไป
ระบบอัดอากาศบางระบบต้องการน้ำมันหล่อลื่นเพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างราบรื่น เราจึงต้องเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นให้เหมาะสมกับการใช้งาน เนื่องจากการใช้น้ำมันหล่อลื่นมากเกินไป (หรือน้อยเกินไป) อาจทำให้ระบบอัดอากาศของคุณเกิดความเสียหายได้ การใช้น้ำมันหล่อลื่นคุณภาพต่ำอาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบอัดอากาศลดลง ซึ่งในกระบวนการทางเคมีความบริสุทธิ์ถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการปนเปื้อนของน้ำมันหล่อลื่นในระบบอัดอากาศถือเป็นสิ่งอันตรายต่อกระบวนการผลิตอาหารและวิทยาศาสตร์การอาหารตลอดจนอุตสาหกรรมที่ใช้สารเคมีอื่น ๆ
สิ่งปนเปื้อนในเครื่องอัดอากาศสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานในระบบอัดอากาศ
แม้ว่าเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมที่มีราคาแพงจะมีการกล่าวอ้างว่ามีคุณสมบัติที่ช่วยประหยัดพลังงานได้มากกว่า แต่หากมีการปนเปื้อนจากฝุ่นละอองความชื้นหรือการปนเปื้อนของน้ำมันหล่อลื่น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมประเภทใดก็ตามล้วนเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายและผลิตลมอัดออกมาได้คุณภาพไม่ดีพอ หากระบบอัดอากาศของคุณไม่ได้รับการดูแลและบำรุงรักษาอย่างเหมาะสมแม้แต่เครื่องอัดอากาศที่ดีที่สุดก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายหากไม่ได้รับการบำรุงรักษาที่ถูกต้อง
เคล็ดลับในการเข้าใจความต้องการคุณภาพอากาศของคุณ
แล้วคุณจะพัฒนาคุณภาพอากาศในระบบอัดอากาศของคุณได้อย่างไร? สิ่งแรกที่คุณต้องทำก็คือการกำหนดระดับคุณภาพอากาศที่คุณต้องการที่เครื่องอัดอากาศ เนื่องจากการใช้ตัวกรองและอุปกรณ์ทำลมแห้งมากเกินไปอาจส่งผลให้ต้นทุนด้านระบบอัดอากาศที่คุณคาดการณ์ไว้เกินงบได้และอีกสิ่งหนึ่งคือคุณต้องลดการทำงานที่ไม่จำเป็นของปั๊มลม เพียงสองวิธีง่ายๆ คุณก็สามารถพัฒนาคุณภาพอากาศในระบบอัดอากาศได้
เข้าใจระบบอัดอากาศของคุณง่ายๆ ใน 4 ขั้นตอน
คำแนะนำสี่ขั้นตอนนี้จัดทำขึ้นโดยกระทรวงพลังงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยคุณภาพของอากาศอัดแบ่งออกเป็นสี่ระดับ ดังนี้
1. Plant Air: อากาศอัดที่ใช้สำหรับอุปกรณ์และเครื่องมือในอุตสาหกรรมการผลิต
2. Instrument Air: การใช้งานใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสภาพอากาศ การทำงานในห้องปฏิบัติการ การพ่นสี (Spray painting) และเคลือบผง (powder coating)
3. Process Air: ระบบอัดอากาศที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยา ตลอดจนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
4. Breathing Air: อากาศอัดระดับนี้ถือเป็นอากาศที่มีคุณภาพสูงสุด เป็นระบบอากาศที่ใช้สำหรับเครื่องช่วยหายใจ การเติมอากาศในถังดำน้ำ อากาศในโรงพยาบาล เป็นต้น
คุณภาพระดับ ISO
ISO Class 0 เป็นการแสดงถึงมาตรฐานคุณภาพระดับสูงสุด เราสามารถดูตารางคู่มือการใช้งานตัวกรองอากาศ (Air filters) และอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ที่ Air-compressor-guide.com โดยตารางนี้แบ่งการจัดอันดับของอนุภาคและสารปนเปื้อนอื่น ๆ ออกเป็นของแข็ง ของเหลวและก๊าซ ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งในการเลือกใช้ฟิลเตอร์ให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะของคุณ
อุปกรณ์เสริมเฉพาะงาน (Specific equipment)
เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่เราจะเลือกใช้เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมให้เหมาะกับการใช้งานตามวัตถุประสงค์และระดับคุณภาพอากาศ เนื่องจากจะช่วยให้คุณเลือกไส้กรองได้ถูกต้องและเหมาะสมกับเครื่องอัดอากาศ ทำให้คุณสามารถใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ไส้กรอง (Filters)
ตัวระบายความร้อน (Aftercoolers)
เครื่องทำลมแห้ง (Dryers)
ระบบที่สะอาดคือระบบที่มีคุณภาพ
หากคุณบำรุงรักษาระบบอัดอากาศของคุณเป็นประจำจะทำให้ระบบทำงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเลือกไส้กรองในเครื่องอัดอากาศคือการเข้าใจความต้องการของเครื่องอัดอากาศแต่ละประเภทและเลือกใช้อุปกรณ์ให้ถูกต้องเหมาะสม หากคุณจัดการระบบอากาศอัดอย่างถูกต้องจะช่วยให้ประหยัดพลังงาน ลดการบำรุงรักษา ลดเวลาสึกหรอ และเพื่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์
หากสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Offical Line@: atlascopcothailand