ทำความเข้าใจระดับ ISO สำหรับคุณภาพอากาศอัด

ทำความเข้าใจถึงระดับ ISO สำหรับคุณภาพอากาศอัด ความบริสุทธิ์ของอากาศอัดที่เหมาะสมเป็นหัวใจสำคัญในการปกป้องความสมบูรณ์และประสิทธิภาพในการผลิต ต่อไปนี้คือคำแนะนำในการใช้ ISO 8573-1:2010 เพื่อให้ได้คุณภาพอากาศที่เหมาะสม

28 กุมภาพันธ์ 2566

การใช้ ISO 8573-1:2010 เพื่อให้ได้คุณภาพอากาศอัดที่เหมาะสม

โลกที่ปราศจากอากาศอัดนั้นคงจะไม่สวยงามนัก โรงงานจะหยุดนิ่ง รถไฟจะหยุดวิ่ง และเรือจะลอยเคว้งในมหาสมุทรอย่างไร้จุดหมาย แต่อากาศอัดนั้นไม่ได้เหมือนกันไปเสียหมด กิจการบางประเภท เช่น การผลิตอาหารและยานั้นต้องการอากาศที่สะอาดอย่างไม่ต้องสงสัย สำหรับกิจการอื่นๆ เป้าหมายหลักของคุณภาพอากาศก็คือการให้ความมั่นใจในความน่าเชื่อถือและอายุการใช้งานของเครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วยอากาศ

อากาศอัดควรได้รับการกรองอย่างมีประสิทธิภาพ

ประการแรก: ระบบอากาศอัดส่วนใหญ่นั้นต้องการตัวกรองอากาศอย่างน้อยหนึ่งตัว นั่นเป็นเพราะอากาศที่ออกจากเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมอาจมีสิ่งปนเปื้อน เช่น ทราย เกลือ และเม็ดน้ำตาล คาร์บอนดำ สนิม ซีเมนต์ และอนุภาคสี แร่ใยหิน รวมทั้งแบคทีเรียและไวรัส ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อเครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วยอากาศ กระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายของคุณ นั่นคือเหตุผลที่ตัวกรองอากาศจึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบอากาศในการปกป้องคุณภาพและความน่าเชื่อถือในการผลิตของคุณ แต่อากาศอัดของคุณควรบริสุทธิ์แค่ไหน และคุณควรจะใช้ตัวกรองอากาศแบบใด

เหตุใดคุณจึงต้องรู้ความต้องการด้านคุณภาพอากาศของคุณ

มีสองเหตุผลหลักที่ผู้ใช้อากาศอัดควรรู้อยู่เสมอว่าพวกเขาต้องการความบริสุทธิ์ระดับใด

  • การใช้งานบางอย่างต้องเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพอากาศ ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานอาจทำให้ต้องเสียค่าปรับหรือความน่าเชื่อถือของบริษัท
  • ตามหลักการทั่วไป ยิ่งอากาศต้องบริสุทธิ์มากเท่าใด การผลิตก็จะยิ่งแพงขึ้นเท่านั้น อากาศที่บริสุทธิ์เป็นอย่างยิ่งนั้นต้องใช้อุปกรณ์เพิ่ม เช่น ตัวกรองอากาศและไดรเออร์ ซึ่งล้วนต้องใช้พลังงาน ดังนั้น การเลือกความบริสุทธิ์ที่เหมาะสมจะช่วยประหยัดเงินและเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม

ISO 8573-1:2010: คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าความบริสุทธิ์ของอากาศระดับใดที่เหมาะกับคุณ

สำหรับคนทั่วไปแล้ว การเลือกความบริสุทธิ์ของอากาศที่เหมาะสมนั้นอาจดูเป็นเรื่องท้าทาย อย่างไรก็ตาม มีสิ่งที่จะช่วยให้ง่ายขึ้นมาก นั่นคือ ISO 8573-1:2010

นั่นคือชื่อทางเทคนิคของมาตรฐานสากลสำหรับระดับความบริสุทธิ์ของอากาศ ซึ่งกำหนดขึ้นจากการจัดอันดับของระดับสารปนเปื้อนต่างๆ ที่ยอมรับได้ เช่น ความชื้น อนุภาค น้ำมัน และสารมลพิษอื่นๆ ในกระแสอากาศอัด

ขณะที่มาตรฐาน ISO จะช่วยให้สิ่งต่างๆ ง่ายขึ้น แต่มีระดับสิ่งปนเปื้อนและความบริสุทธิ์มากมาย ที่แม้การพยายามศึกษามันก็อาจเป็นเรื่องท้าทาย คู่มือฉบับย่อด้านล่างจะช่วยคนทั่วไปในการศึกษา ISO 8573-1:2010 เพื่อหาระดับความบริสุทธิ์ของอากาศที่ต้องการ

โครงสร้างของ ISO 8573-1:2010

มาตรฐาน ISO แบ่งสารปนเปื้อนออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ อนุภาคของแข็ง น้ำ (ทั้งของเหลวและไอระเหย) และน้ำมัน (ทั้งละอองและไอระเหย) สารปนเปื้อนแต่ละประเภทเหล่านี้มีระดับความบริสุทธิ์ที่แตกต่างกันถึง 10 ระดับ (8 ระดับสำหรับอนุภาค 10 ระดับสำหรับน้ำ และ 5 ระดับสำหรับน้ำมัน)

โซลูชันการกรองเพื่ออากาศคุณภาพดีที่สุด

อากาศอัดในคุณภาพที่เหมาะสมนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อผู้ใช้

ยิ่งตัวเลขระดับต่ำเท่าใด อากาศยิ่งต้องบริสุทธิ์มากเท่านั้น ตัวอย่างเช่น อากาศระดับ 4 จะมีสิ่งเจือปนมากกว่าระดับ 3

ในกรณีอนุภาคของแข็ง มาตรฐานได้กำหนดจำนวนอนุภาคเล็กๆ ในอากาศต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนนี้จะแบ่งย่อยต่อไปตามขนาดอนุภาค ตัวอย่าง เช่น อากาศระดับ 1 ต้องมีอนุภาคขนาด 0.1-0.5 ไมครอน ไม่เกิน 20,000 อนุภาค อนุภาคขนาด 0.5-1 ไมครอนไม่เกิน 400 อนุภาค และอนุภาคขนาด 1-5 ไมครอนไม่เกิน 10 อนุภาค (ไมครอนคือหน่วยวัดขนาดและเท่ากับ 1/1000 ของมิลลิเมตร) อากาศระดับ 2 ต้องการอากาศที่มีอนุภาคขนาด 0.1-0.5 ไมครอน ไม่เกิน 400,000 อนุภาค อนุภาคขนาด 0.5-1 ไมครอน ไม่เกิน 6,000 อนุภาค และอนุภาคขนาด 1-5 ไม่เกิน 100 อนุภาค และอากาศระดับ 3 ไม่ได้ระบุปริมาณของหมวดหมู่แรก และตั้งแต่ระดับ 6 เป็นต้นไป มาตรฐาน ISO จะระบุความเข้มข้นของอนุภาคในหน่วยมิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเท่านั้น

ในกรณีของน้ำ ระดับที่เข้มงวดกว่าจะถูกจัดลำดับตามจุดน้ำค้างแรงดัน ซึ่งเริ่มจากระดับ 7 ตามปริมาณของเหลวในอากาศเป็นหน่วยกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นั่นหมายความว่าจุดน้ำค้างของอากาศระดับ 1 ต้องมีอุณหภูมิอย่างน้อย -70 องศาเซลเซียส ในขณะที่อากาศระดับ 9 สามารถมีน้ำ และ/หรือไอน้ำได้ระหว่าง 5-10 ก./ลบ.ม.

ประการสุดท้าย ระดับ ISO สำหรับน้ำมันจะกำหนดโดยปริมาณน้ำมันเป็นหน่วย มก./ลบ.ม. ระดับ 1 ต้องมีน้ำมันทุกประเภทไม่เกิน 0.01 มก. ในขณะที่อากาศระดับ 4 สามารถมีปริมาณน้ำมันได้ถึง 500 เท่า (5 มก./ลบ.ม.)

เลือกตัวกรองอากาศที่เหมาะกับระดับ ISO ของคุณ

เมื่อคุณทราบว่าอากาศอัดของคุณควรเป็นไปตามมาตรฐาน ISO ใด และคุณควรเลือกใช้ตัวกรองอากาศแบบไหน เพียงมองหาระดับ ISO เมื่อเลือกตัวกรองอากาศ

ตัวอย่าง เช่น ตัวกรองอากาศแบบ UD+ ของ Atlas Copco ระบุประสิทธิภาพของระดับ ISO ที่ [1:-:2] ซึ่งหมายความว่าจะให้ความบริสุทธิ์ของอากาศระดับ 1 สำหรับอนุภาคของแข็ง และระดับ 2 สำหรับน้ำมัน ตัวกรองอากาศแบบ UD+ จะไม่กรองความชื้น ดังนั้นจึงมีเครื่องหมาย “–” อยู่ตรงกลาง

ตัวกรองอากาศและการใช้งาน

เมื่อคุณทราบระดับ ISO ที่เหมาะกับการใช้งานของคุณแล้ว คุณก็สามารถวางแผนได้ว่าต้องใช้อุปกรณ์ใดเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง หากคุณต้องการความช่วยเหลือในการเลือกสำหรับการใช้งานของคุณ ตัวแทนจำหน่ายของ Atlas Copco ยินดีให้ความช่วยเหลือ

หัวข้อและโครงการที่เกี่ยวข้อง

ตัวกรอง UD+ การบำบัดก๊าซและอากาศ

ทำความเข้าใจระดับ ISO สำหรับคุณภาพอากาศอัด

contact icon