คุณคิดว่าโบลเวอร์มีส่วนสำคัญอย่างไรในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์?

อุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์นั้นถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรม (Cement Manufacturing) ที่มีการนำเทคโนโลยีโบลเวอร์มาใช้ในกระบวนการผลิต มาดูกันค่ะว่าโบลเวอร์แรงดันต่ำหรือเครื่องเติมอากาศ (Low-Pressure Blowers) มีกระบวนการทำงานอย่างไร?

เทคโนโลยีโบลเวอร์ กับ อุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ (Low-Pressure Blowers in Cement Manufacturing)

เมื่อพูดถึงอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ หลายๆ คนคงจะนึกถึงการก่อสร้างอาคาร บ้านเรือนต่างๆ ก็ถูกค่ะ แต่นั่นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เท่านั้น เพราะกว่าจะมาเป็นปูนซีเมนต์ให้เราได้ใช้กันต้องผ่านกระบวนการและขั้นตอนการผลิตต่างๆ มากมาย วันนี้เราจะมาดูการทำงานของโบลเวอร์แรงดันต่ำหรือเครื่องเติมอากาศ (Low-Pressure Blowers) ในอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์กันค่ะ

Cement card image

ปัจจุบันได้มีการนำโบลเวอร์แรงดันต่ำหรือเครื่องเติมอากาศ (Low-pressure blowers) มาใช้งานในอุตสาหกรรมที่หลากหลายมากขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นระบบบำบัดน้ำเสีย อุตสาหกรรมน้ำมัน อุตสาหกรรมเหมืองแร่  อุตสาหกรรมอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย  แต่คุณรู้หรือไม่ . . . ว่าอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์นั้นถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีการนำเทคโนโลยีโบลเวอร์มาใช้ในกระบวนการผลิตเช่นกัน 

ลองสังเกตสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวคุณดูสิ ไม่ว่าจะเป็นอาคารบ้านเรือน สิ่งเหล่านี้ล้วนทำมาจากปูนซีเมนต์ทั้งสิ้น  ปูนซีเมนต์มีชื่อเต็มว่า ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีเทาใช้เป็นส่วนสำคัญในการทำคอนกรีตเพราะทำหน้าที่เป็นตัวประสานที่ช่วยยึดหิน ทราย และเหล็กให้ติดแน่นเป็นเนื้อเดียวกัน ถ้าไม่มีปูนซีเมนต์ยึดประสานไว้หิน ทราย และเหล็กก็อาจแตกแยกหลุดออกจากกันได้ง่าย ไม่สามารถคงรูปร่างของสิ่งก่อสร้างดังที่ต้องการ คุณสมบัติพิเศษของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ได้แก่ การก่อตัวและแข็งตัวได้ในน้ำ ดังนั้นเมื่อผสมหิน ทราย ปูนซีเมนต์ และน้ำ คลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้วเทลงในแบบที่เตรียมไว้ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วแกะแบบออกก็จะได้คอนกรีตที่มีรูปร่างเหมือนแบบ 

กรรมวิธีในการผลิตปูนซีเมนต์เป็นอย่างไร?

ปัจจุบันกรรมวิธีการผลิตปูนซีเมนต์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือแบบเปียกและแบบแห้ง

1. กรรมวิธีแบบแห้ง (The dry method)

Union Cement company at Ras Al Khaimah
การผลิตทำได้โดยการบดวัตถุดิบต่างๆ จนเป็นผงละเอียด จากนั้นจะนำไปผสมกับส่วนผสมอื่นๆ เช่น แร่เหล็ก แล้วนำเข้าเตาเผาซีเมนต์ วัตถุดิบหลักที่ใช้ในกระบวนการผลิตคือ หินปูน (Limestone) ที่ได้จากการระเบิดภูเขาหินปูน แต่หินปูนที่ได้จะยังมีขนาดใหญ่อยู่ จึงต้องนำมาลดขนาดโดยเครื่องย่อย (Crusher) จนมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 นิ้วหรือน้อยกว่านั้นเพื่อให้เหมาะกับกระบวนการผลิตในขั้นตอนต่อไป และเพื่อให้ได้ส่วนประกอบทางเคมีตามค่ามาตรฐานที่กำหนด วัตถุดิบที่ผ่านการย่อยแล้วจะถูกนำมาเก็บไว้ที่กองเก็บวัตถุดิบ (Storage Yard) จากนั้นก็จะลำเลียงไปยังหม้อบดวัตถุดิน (Raw Mill) ต่อไป โดยเตาเผาที่ใช้นั้นจะวางเป็นมุมเอียงเล็กน้อยและหมุนรอบตัวเองแบบช้าๆ เพื่ออุ่นส่วนผสมและวัตถุดิบต่างๆ ด้วยอุณหภูมิที่สูงมาก (ประมาณ 2,700 องศาฟาเรนไฮต์) เมื่อวัตถุดิบมีการเคลื่อนที่จากที่สูงไปที่ต่ำสวนทางกับไฟที่มีอุณหภูมิสูงจัดจะทำให้เกิดการเผาไหม้หรือเบิร์นออฟ (burn off) วัตถุดิบบางชนิดจะถูกเผาไหม้กลายเป็นก๊าซ ส่วนประกอบที่เหลือหลอมรวมกันเป็นวัสดุที่เรียกว่า “ปูนเม็ด” ซึ่งออกจากเตาเผา รอจนกว่าจะเย็นลง และสุดท้ายจะถูกบดเป็นผงละเอียดพร้อมที่จะขนส่งไปยังบริษัทคอนกรีต กรรมวิธีแบบแห้งเป็นวิธีที่ใช้กันทั่วไปและเป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดเพราะเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการผลิตจำนวนมาก เนื่องจากไม่ต้องใช้น้ำในการผสมวัตถุดิบ จึงประหยัดค่าใช้จ่ายในการผลิตได้มากโดยเฉพาะค่าเชื้อเพลิงในการผลิต

2. กรรมวิธีแบบเปียก (The wet method)

วัตถุดิบหลักที่ใช้ในกระบวนการผลิต คือ ดินขาว (Marl) และดินเหนียว (Clay) กรรมวิธีแบบเปียกนั้นเป็นกระบวนการเดียวกันกับกรรมวิธีแบบแห้ง  จะต่างกันเพียงอย่างเดียวคือกรรมวิธีแบบเปียกจะผสมวัตถุดิบกับน้ำก่อนนำเข้าเตาเผา 

แล้วโบลเวอร์มีส่วนสำคัญอย่างไรในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์?

ในอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์โบลเวอร์หรือเครื่องเติมอากาศ (Screw air blower) มีบทบาทสำคัญในขั้นตอนการลำเลียงวัตถุดิบ เติมอากาศเพื่อให้ความร้อนและความเย็นในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ มาดูกันค่ะว่าโบลเวอร์แรงดันต่ำหรือเครื่องเติมอากาศ (Low-Pressure Blowers) มีกระบวนการทำงานอย่างไร:

1. การใช้แรงดันลมในการลำเลียงวัตถุดิบ (Pneumatic Conveying)

เทคโนโลยีโบลเวอร์ไร้น้ำมันหรือเครื่องเติมอากาศ (Oil-Free Screw Air Blower) ถูกนำมาใช้ในการลำเลียงปูนซีเมนต์ผ่านจุดต่างๆ ในกระบวนการผลิต เช่น: ✅ใช้ลำเลียงวัตถุดิบตอนเข้าและออกจากเตาเผา ✅บรรจุซีลห่อบรรจุภัณฑ์ในขั้นตอนสุดท้าย ✅ใช้ในการขนย้ายปูนซีเมนต์จากบนรถบรรทุก ตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ รถราง และการขนส่งทางทะเลไปยังการขนส่งขั้นสุดท้าย

2. ใช้การเติมอากาศ (Aeration)

เราใช้เทคโนโลยีโบลเวอร์ในการเติมอากาศในถังอากาศซีเมนต์แบบไซโล (SILO) เพื่อให้วัตถุดิบเคลื่อนที่อยู่หรือมีการผสมอยู่ตลอดเวลา ✅ใช้เติมอากาศในยุ้งผสมวัตถุดิบสำเร็จหรือถังไซโล (SILO) เพื่อให้ส่วนผสมเป็นเนื้อเดียวกัน (Homogenizing Silo Aerations) ✅ใช้เติมอากาศในหม้อบดวัตถุดิบหรือถังไซโล (Raw Mill Silo) ✅เติมอากาศในถังกรองฝุ่น (Filter Dust Bin) ✅เติมอากาศในถังผสม (Mixing Bin) ✅ใช้ในกระบวนการฟลูอิไดซ์ซิ่งแอร์ (Fluidizing Air)

3. ใช้ในเทคโนโลยีการเผาไหม้ (Combustion Air)

เราจะใช้โบลเวอร์หรือเครื่องเติมอากาศ (Screw Air Blower) เพื่อเติมก๊าซออกซิเจนสู่ไฟในเตาเผา

4. กระบวนการ Cooling Air

ใช้ในกระบวนการทำให้ส่วนผสมเย็นลงหลังออกจากเตาเผา

หากมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานโบลเวอร์ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของแอตลาส คอปโก้ได้โดยตรงที่ Official Line@: atlascopcothailand

                                                            

โบลเวอร์ Oil-free Air โบลเวอร์ ZL ซีเมนต์ ZM ZS ZB ZS

atlas copco thailand 24/7 customer center

แอตลาส คอปโก้ ประเทศไทย (สำนักงานใหญ่)

125 หมู่ 9 นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ ถ.บางนาตราด กม.36 ต.บางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 24130

คุณคิดว่าโบลเวอร์มีส่วนสำคัญอย่างไรในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์?

explainer icon