เราจะเปลี่ยนครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมที่มีอยู่ได้ยังไง?

งานซ่อมบำรุงและการบริการหลังการขาย 2019 เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม 2018 วิธีการ 2017

Air Compressor Service and Parts

หากเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมของคุณผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานานจนเกิดการสึกหรอ หรือ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการใช้งานของคุณได้อีกต่อไป นั่นหมายถึงการมองหาเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมเครื่องใหม่เพื่อชดเชยหรือเสริมศักยภาพให้ระบบการผลิตของคุณ โดยการลงทุนในเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมเครื่องใหม่นั้นไม่ง่ายเหมือนกับการซื้อเครื่องใช้ภายในบ้าน เราจึงเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าคุณควรจะเปลี่ยนเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมหรือไม่

จำเป็นแค่ไหน สำหรับการเปลี่ยนเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมเครื่องใหม่?

หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ให้คุณคิดว่านี่เป็นรถยนต์คันหนึ่ง คุณจะไม่รู้สึกถึงความกังวลในเรื่องประสิทธิภาพของรถ หรือไม่คิดแม้แต่จะซื้อรถคันอื่นหากคุณขับรถยนต์คันใหม่อยู่ แต่หลายปีผ่านไปเมื่อรถคุณเกิดการสึกหรอ อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการต้องบำรุงรักษาและซ่อมแซมอยู่บ่อยครั้ง คุณจะเริ่มคิดว่าการซ่อมแซมเหล่านั้นคุ้มค่าหรือไม่ และถ้าหากเปลี่ยนรถคันใหม่จะดีกว่าไหม เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมก็เช่นกัน คุณควรหมั่นตรวจเช็คเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมของคุณอยู่เสมอ เพื่อดูว่ามีความจำเป็นต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่หรือไม่

อายุการใช้งานของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (A compressor's lifecycle)

อายุการใช้งานของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม ก็เหมือนกับอายุการใช้งานของรถยนต์ ตราบใดที่เครื่องยังใหม่อยู่ คุณก็สามารถวางใจในประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องได้ แต่เมื่อใดที่เครื่องเกิดการสึกหรอ ประสิทธิภาพในการทำงานก็จะลดลง ในขณะที่ต้นทุนในการบำรุงรักษาสูงมากขึ้น เมื่อเกิดกรณีแบบนี้คุณควรพิจารณาว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะเปลี่ยนเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม? ไม่ว่าคุณจะต้องการเปลี่ยนเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม หรือไม่ ให้คุณลองอ่านหัวข้อที่เราจะพูดถึงต่อจากนี้ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้ต้องเปลี่ยนเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม

การ Shutdown ของเครื่อง

หนึ่งในปัจจัยที่เป็นปัญหาของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม็คือการ shut down ระหว่างที่เครื่องทำงานอยู่ เนื่องมาจากสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง ทำให้เครื่องทำงานจนเกิดความร้อนมากเกินไป (overheating) ส่งผลให้ cooler เกิดการอุดตัน วิธีแก้ไขคือ ต้องทำการเป่าลมเพื่อไล่สิ่งอุดตันออกจาก cooler หรือเปลี่ยนตัวกรองอากาศ (air filter) โดยหากคุณแก้ไขปัญหาตามวิธีดังกล่าวนี้แล้วอาการ shut down หายไป คุณก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมเครื่องใหม่ แต่หากวิธีแก้ปัญหาดังกล่าวใช้ไม่ได้ผล คุณควรติดต่อให้ช่างเทคนิคผู้เชี่ยวชาญเข้ามาทำการตรวจเช็คเพื่อหาสาเหตุ เพราะปัญหาภายในเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมอาจซับซ้อนมากกว่าที่คุณเห็น เมื่อตรวจเช็คแล้วพบว่าปัญหาภายในเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมนั้นเกิดจากความผิดพลาดของส่วนประกอบหลักภายในเครื่อง ให้คุณลองเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนที่ใช้ในการซ่อมแซม กับต้นทุนที่ใช้ในการซื้อเครื่องใหม่ ว่าสิ่งไหนคุ้มค่ามากกว่ากัน

ปัญหาแรงดันตก (Pressure drops)

หากเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมของคุณ มีปัญหาแรงดันตก (pressure drops) อาจเป็นไปได้ว่ามีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย และควรได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วนที่สุด บ่อยครั้งที่เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมมีการตั้งค่าระดับแรงดันไว้สูงกว่าระดับความต้องการใช้งาน คุณจึงต้องทราบระดับแรงดันที่เหมาะสมกับการใช้งานของผู้ใช้งาน (หรือก็คือ end users ในที่นี้หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้งานลมอัด หรือลมที่ได้จากเครื่องอัดอากาศ) และตั้งค่าแรงดันให้ตรงตามความต้องของการใช้งาน โดยปกติผู้ดูแลเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมมักจะเป็นคนแรกที่พบปัญหาแรงดันตก (Pressure drop) ซึ่งผลของปัญหาแรงดันตกอาจทำให้เครื่องเกิดการ Shutdown หรือ ทำให้เกิดความผิดพลาดในการผลิตชิ้นงาน ก่อนที่คุณจะตัดสินใจเปลี่ยนเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมที่ีพบปัญหาแรงดันตก (pressure drop) คุณควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบภายในเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมของคุณก่อน และควรแน่ใจว่าไม่มีตัวแปรอื่น หรือสาเหตอื่นที่ทำให้เกิดการลดลงของแรงดัน (pressure drop) ดังนั้น คุณจึงควรตรวจสอบตัวกรองทั้งหมดในระบบอัดอากาศเพื่อให้แน่ใจว่าตัวกรองไม่ได้อุดตัน ยิ่งไปกว่านั้น คุณจะต้องตรวจสอบระบบท่อลม (piping system) เพื่อให้แน่ใจว่าขนาดของท่อ มีความเหมาะสมกับความยาวของท่อและกำลัง (capacity) ของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม ซึ่งมีหน่วยเป็น HP หรือ kW เพราะหากใช้ท่อที่มีขนาดเล็กเกินไปสำหรับการส่งลมระยะไกล จะทำให้มีปัญหาแรงดันตก (pressure drop) และส่งผลกระทบต่อเครื่องจักรที่นำลมอัดหรือลมที่ได้จากเครื่องอัดอากาศไปใช้งาน อีกกรณีหนึ่ง หากคุณตรวจเช็คตัวกรองและระบบท่อลมแล้วไม่พบปัญหาแต่อย่างใด แต่ยังคงมีปัญหาแรงดันตก (pressure drop) เกิดขึ้นอยู่ อาจเป็นเพราะว่าเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมของคุณมีขนาดเล็กเกินกว่าความต้องการปริมาณลมที่ใช้ในโรงงานของคุณ นี่จึงถือเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่คุณจะได้ตรวจเช็คและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมของคุณ ว่ามีความต้องการปริมาณลม และอัตราไหล (flow) มากน้อยแค่ไหน ซึ่งหากความต้องการปริมาณลม และอัตราไหล (flow) มีเพิ่มมากขึ้น เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมจะไม่สามารถให้อัตราไหล (flow) ที่เพียงพอกับแรงดันที่ต้องการได้ จึงส่งผลให้เกิดปัญหาแรงดันตก (pressure drop) ทั่วทั้งระบบ ในกรณีนี้ วิธีที่ดีที่สุดคือ ติดต่อฝ่ายขายผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมโดยตรง เพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจให้มากขึ้นในเรื่องของความต้องการปริมาณลม และขนาดของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมที่เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้งาน

อายุการใช้งานของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม และอาการพัง

เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมก็เหมือนกับเครื่องจักรชนิดอื่นๆ เมื่อเวลาผ่านไป เครื่องจะมีอายุการใช้งานมากขึ้นและเสื่อมสภาพลงจนกระทั่งหมดอายุการใช้งาน เมื่อเวลานั้นมาถึง ให้คุณลองพิจารณาว่าเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมของคุณเสื่อมสภาพไปมากน้อยแค่ไหน และต้องซ่อมแซมอีกเยอะหรือไม่ คุณจะยอมจ่ายเงินเป็นจำนวนมากไปกับการซ่อมแซม หรือคุณจะลงทุนกับเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า บ่อยครั้งที่เราพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมเพียงหนึ่งอย่าง สามารถทำให้เครื่องพังง่ายขึ้น ทำให้คุณต้องจ่ายต้นทุนไปกับการซ่อมแซมที่มีมูลค่าแพงมากกว่าการซื้อเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมเครื่องใหม่ที่มีคุณภาพเสียอีก เนื่องจากเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมเป็นหัวใจสำคัญของการผลิตในระบบอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ คุณจึงควรกำหนดตารางเวลาในการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เครื่องมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน คุณอาจลองเปรียบเทียบใบเสนอราคาระหว่างราคาซ่อม และราคาเครื่องใหม่ เพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจได้ดีขึ้น

เราจะเปลี่ยนเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมได้ยังไง?

how to replace an air compressor
การเปลี่ยนเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม อาจทำให้คุณคิดหนัก และบ่อยครั้งที่เราพบว่า คุณได้ตัดสินใจเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว เนื่องจากต้องการนำไปใช้งานอย่างเร่งด่วน หรือตัดสินใจผิดพลาดไปเพราะขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความต้องการปริมาณลม ดังนั้น ก่อนอื่นคุณจึงต้องทำความเข้าใจก่อนว่าคุณใช้เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมชนิดใดอยู่ และควรเปลี่ยนเป็นเครื่องใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกัน หรือเทคโนโลยีแบบอื่น นอกจากนี้การมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องอัตราไหล (flow) แรงดัน และการทำงานของเครื่องในแต่ละวัน ก็เป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการตัดสินใจเปลี่ยนเครื่องใหม่ จึงควรปรึกษากับผู้ให้บริการซ่อมบำรุงก่อนตัดสินใจ เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีการจ่ายไฟฟ้าที่เพียงพอสำหรับเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมเครื่องใหม่ โดยเฉพาะเมื่อคุณเปลี่ยนเป็นเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมให้มีีขนาดใหญ่ขึ้น ยิ่งต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง

เราสามารถใช้เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบสกรู (screw compressor) แทน เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบลูกสูบ (piston compressor) ได้ไหม?

change piston compressor to screw compressor

เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบลูกสูบ (screw compressor) เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการใช้งานในระดับเริ่มต้น แต่บ่อยครั้งทีพบว่าอาจมีความต้องการใช้งานมากเกินกว่าที่เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบลูกสูบจะทำได้ ดังนั้น หากคุณต้องการสิ่งที่ตอบสนองการใช้งานของคุณ หรือต้องการเพิ่มอัตราไหลของลม (flow) รวมถึงกำลังมองหาเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมที่มีขนาดกะทัดรัด มีประสิทธิภาพ เชื่อถือได้ และเสียงเงียบ เราขอนำเสนอ เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบโรตารี่สกรู (rotary screw) ซึ่งเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ บ่อยครั้งที่หลายๆบริษัทพบว่าการเปลี่ยนเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมนั้น มีจุดเริ่มต้นมาจากข้อจำกัดในเรื่องของปริมาณลมที่ผลิตได้ ไม่เพียงพอสำหรับการผลิตและความต้องการของลูกค้าที่มีเพิ่มมากขึ้น จึงต้องการเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิตให้ตรงกับความต้องการนั่นเอง ดังนั้นจึงควรเข้าใจความแตกต่างระหว่างปั๊มลมแบบลูกสูบ (piston compressor) และ ปั๊มลมแบบสกรู (screw compressor) รวมถึงกำลังความสามารถของเทคโนโลยีแต่ละแบบ และควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเรื่องระบบอัดอากาศ หากคุณต้องการที่จะเพิ่มหรือลดขนาดเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมเครื่องถัดไปของคุณ

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม....
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม....
ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่นี่

โทรเลย!!

+66 38 562 900

หรือ Email : atlascopco.thailand@th.atlascopco.com

 
ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่นี่

โทรเลย!!

+66 38 562 900

หรือ Email : atlascopco.thailand@th.atlascopco.com

atlas copco thailand 24/7 customer center

แอตลาส คอปโก้ ประเทศไทย (สำนักงานใหญ่)

125 หมู่ 9 นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ ถ.บางนาตราด กม.36 ต.บางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 24310