หัวใจสำคัญสำหรับกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม คือ คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลม ซึ่งทำหน้าที่ในการผลิตและจ่ายลมอัดเพื่อใช้ในการทำงาน แต่รู้หรือไม่ว่านอกจากลมอัดที่ออกมาแล้ว จะมีสสารต่างๆปนออกมาพร้อมกับลมด้วย เช่น
การใส่ใจในคุณภาพของลมอัดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากใช้ลมอัดที่ไม่สะอาดเพียงพอ จะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องจักรลดลง และส่งผลถึงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตอาจไม่ได้คุณภาพและอาจถูกปฏิเสธจากลูกค้าได้
การเลือกใช้ตัวกรองอากาศ (Main Line Filter)
การนำลมอัดไปใช้ในงานอุตสาหกรรมแต่ละประเภทจะมี point of use ที่แตกต่างกันไป งานแต่ละอย่างจึงต้องการคุณภาพของลมอัดไม่เท่ากัน ซึ่งคุณภาพของลมอัดตามมาตรฐาน ISO 8573 – 1 : 2010 ถูกแบ่งออกเป็น class ตั้งแต่ 0 – 6 ตามตารางด้านล่างนี้้
จากตารางจะเห็นได้ว่า คุณภาพของลมอัดในแต่ละ class จะมีสิ่งสกปรก น้ำ และไอน้ำมันหลงเหลืออยู่บ้างในที่ปริมาณที่ยอมรับได้
เมื่อเรารู้แล้วว่าลักษณะงานที่เราจะนำไป่ใช้นั้น ต้องการคุณภาพของลมอัดมากเท่าไหร่ ขั้นตอนต่อไปก็คือการเลือกใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อปรับปรุงคุณภาพของลมอัดให้เป็นไปตามมาตรฐาน
ตัวอย่างการติดตั้งอุปกรณ์เสริมเพื่อปรับปรุงคุณภาพของลมอัด
หลักการทำงานของตัวกรองอากาศ (Air filter)
จากคลิปวิดิโอด้านบน เราจะเห็นว่า ภายในตัวกรองอากาศ (Air filter) ของ แอตลาส คอปโก้ จะมีเส้นใยแก้วบางๆที่ซ้อนกันอยู่เป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่ในการดักจับสิ่งปนเปื้อนต่างๆในลมอัด โดยมีกลไกการทำงานอยู่ 3 ขั้นตอน
1. Internal impaction - อนุภาคของสิ่งปนเปื้อนที่มีน้ำหนัก และขนาดค่อนข้างใหญ่ จะกระทบและติดไว้ที่บริเวณผิวด้านหน้าของเส้นใยแก้ว
2. Interception - อนุภาคของสิ่งปนเปื้อนขนาดเล็กที่ยังคงเล็ดลอดเข้ามาตามแรงลม จะถูกดักจับไว้ให้อยู่ภายในเส้นใยแก้ว
3. Diffusion - อนุภาคของสิ่งปนเปื้อนในลมอัดจะเคลื่อนที่แบบสุ่มหรือสลับทิศทาง และถูกดักจับอยู่ภายในเส้นใยแก้วจนเหลือขนาดอนุภาคที่เล็กลงเรื่อยๆ จึงช่วยลดปริมาณสิ่งปนเปื้อนในลมอัดลงไปได้มาก
>> ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่นี่ค่ะ <<
>> ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่นี่ค่ะ <<