จัดการปัญหาที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายนอกให้อยู่หมัดด้วยปั๊มลม oil-free

การบำรุงรักษาเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมชนิดไร้น้ำมัน (oil-free air compressor) นอกจากการเปลี่ยนอะไหล่เป็นประจำแล้ว ยังมีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายนอกอีกสองอย่างที่อาจส่งผลต่อการทำงานของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมได้ จะมีปัจจัยใดบ้าง มาดูกันเลย

สิ่งแวดล้อมภายนอกมีผลต่อการทำงานของปั๊มลม oil-free หรือไม่?

ปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศ (air compressor) ที่ดีมีคุณภาพ จะช่วยให้เราทำงานได้สะดวกสบายและราบรื่น แต่จะทำอย่างไรให้ปั๊มลมอยู่กับเราได้นาน ไม่เสีย ไม่ต้องซ่อม ไม่ต้องซื้อใหม่ก่อนเวลาอันควร

การดูแลรักษาปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศ (air compressor) ถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) ที่ใช้งานทั่วไปไป ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี จึงจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น แต่นอกจากจะดูแลรักษาที่ตัวเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนอะไหล่เป็นประจำแล้ว ทราบไหมคะว่าปัจจัยภายนอกก็มีผลต่อการทำงานของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมค่ะ 

หากคุณกำลังใช้งานเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม oil-free อยู่ บทความวันนี้เราจะมาบอกเคล็ดลับการบำรุงรักษาเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม oil-free กันค่ะ

1. อากาศแวดล้อม (Ambient Air)

หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าอากาศ (Ambient Air) ที่อยู่รอบๆ บริเวณที่ตั้งของตัวเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) นั้นมีผลต่อการทำงานของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compressor) ด้วย เนื่องจากในอากาศแวดล้อมที่อยู่บริเวณรอบๆ ตัวเครื่องนั้นอาจจะมีน้ำมันปนเปื้อนอยู่ 

 

จากการวิจัยของ Technische Überwachungs Verein หรือ TÜV ซึ่งเป็นองค์กรอิสระระดับสากลที่เชี่ยวชาญด้านการประเมินความปลอดภัยและคุณภาพของเทคโนโลยี เป็นที่ยอมรับทั่วโลกในด้านความเป็นอิสระ ความเป็นกลาง ความเชี่ยวชาญระดับมืออาชีพและมาตรฐานที่เข้มงวด พบว่าอากาศบริเวณรอบเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมมีคราบน้ำมันที่เกิดจากยานพาหนะและแหล่งอุตสาหกรรมอื่นๆ ปนเปื้อนอยู่ ทั้งนี้ไม่ควรมีการปนเปื้อนมากกว่า 0.003 มก./ลบ.ม.

 

เพราะเมื่อระบบอัดอากาศเริ่มทำงาน เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (air compresssor) จะทำหน้าที่ดูดอากาศที่มีการปนเปื้อนของน้ำมันนี้เข้าไปในกระบวนการบีบอัด หากระบบอัดอากาศของคุณมีระบบการกรองที่ไม่ดี น้ำมันที่อยู่ในอากาศเหล่านี้ก็อาจจะปนเปื้อนเข้าไปในกระบวนการผลิตได้ แต่ปัญหานี้จะหมดไป หากคุณเลือกใช้เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมชนิดไร้น้ำมัน (oil-free air compressor) ที่ได้มาตรฐาน ISO 8573-1 CLASS 0 จากแอตลาส คอปโก้ เทคโนโลยีที่จะทำให้อัตราการปนเปื้อนของน้ำมันในกระบวนการผลิตมีปริมาณต่ำมาก เนื่องจากน้ำมันจะถูกชะล้างออกไปผ่านท่อระบายน้ำคอนเดนเสทเกือบหมด ซึ่งระบบระบายน้ำคอนเดนเสทถือเป็นส่วนสำคัญของ อินเตอร์คูลเลอร์ ( intercooler) และอาฟเตอร์คูลเลอร์ (after-cooler) ลมอัดที่ได้จากกระบวนการนี้คือ oil-free air ลมอัดที่บริสุทธิ์ปราศจากการปนเปื้อนของน้ำมัน 100% แต่หากกระบวนการผลิตของคุณต้องการลมอัดที่มีคุณภาพความบริสุทธิ์มากกว่านั้น ก็สามารถติดตั้งไส้กรองเพิ่มได้ แต่บอกเลยว่าแทบจะไม่จำเป็นต้องมี 

2. อุณหภูมิโดยรอบ (Ambient Temperature)

นอกจากอากาศบริเวณรอบๆ จะมีผลต่อการทำงานของตัวเครื่องแล้ว อุณหภูมิแวดล้อมบริเวณที่ติดตั้งตัวเครื่องเองก็มีผลอย่างมากต่อประสิทธิภาพของตัวกรองและความบริสุทธิ์ของอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณใช้เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมชนิดหล่อลื่นสกรูด้วยน้ำมัน (oil-injected air compressors) แบบที่มีตัวกรองขจัดน้ำมัน การปนเปื้อนของน้ำมันเป็นละอองปนติดไปกับอากาศอัด (Oil Carryover) จะเพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 

 

ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสมรรถนะของตัวกรองจะมีอุณหภูมิอยู่ที่ 68°F (20°C) หากอุณหภูมิแวดล้อมในห้องอัดอากาศเพิ่มขึ้นเป็น 86°F (30°C) – ตามอุณหภูมิของระบบทำความเย็นแบบ After-cooler มาตรฐาน – อุณหภูมิทางออกของคอมเพรสเซอร์อาจอยู่ที่ 104°F (40°C) และปริมาณการปนเปื้อนของน้ำมันเป็นละอองปนติดไปกับ อากาศอัด (Oil Carryover)  อาจมากกว่าค่าที่กำหนดไว้ถึง 20 เท่าแต่อุณหภูมิดังกล่าวก็ถือว่าไม่ผิดปกติแม้ในช่วงหน้าหนาวของปี เนื่องจากอุณหภูมิของห้องอัดอากาศมักจะมีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ ภายในพื้นที่โรงงานเดียวกัน

 

อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ไอน้ำในระบบเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และอาจปนเปื้อนไปในผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย นอกจากนี้อาจส่งผลให้เครื่องชำรุดก่อนถึงเวลาอันควรด้วย ยกตัวอย่างเช่น การเพิ่มอุณหภูมิจาก 68°F เป็น 104°F จะทำให้อายุการใช้งานของตัวกรองถ่านกัมมันต์ (activated carbon filter) ลดลงถึง 90 เปอร์เซ็นต์  ที่แย่กว่านั้นคือ ตัวกรองถ่านกัมมันต์ (activated carbon filter) จะไม่เตือนผู้ใช้เมื่อถึงจุดอิ่มตัว แต่จะทำให้น้ำมันไหลปนเปื้อนผ่านเข้าไปยังผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการผลิตได้

วิธีป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมหรือปัจจัยภายนอก

เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมชนิดไร้น้ำมัน (oil-free air compressors) จากแอตลาส คอปโก้สามารถผลิตลมอัดได้อย่างมีคุณภาพ ด้วยอุณหภูมิที่เป็นกลางและการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงช่วยขจัดสิ่งปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้ามาในระบบได้
ด้วยเหตุนี้ ผู้ใช้งานระบบอัดอากาศส่วนใหญ่จึงเลือกใช้ เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมชนิดไร้น้ำมัน (oil-free air compressors) จากแอตลาส คอปโก้ ที่ได้มาตรฐาน ISO 8573-1 ระดับ Class Zero ทำให้ได้อากาศอัดที่สะอาดและปราศจากน้ำมัน 100 เปอร์เซ็นต์

●    มาตรฐาน ISO 8573-1 คือตัวกำหนดระดับคุณภาพอากาศและสิ่งปนเปื้อนในระบบอากาศ
●    Class Zero เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับกระบวนการที่ต้องการอากาศที่ปราศจากน้ำมัน 100 เปอร์เซ็นต์

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยี Oil-free ได้ ที่นี่ หรือหากสนใจเทคโนโลยี VSD สามารถปรึกษาหรือสอบถามผู้เชี่ยวชาญของแอตลาส คอปโก้ได้โดยตรงที่ Official Line@: atlascopcothailand  หรือช่องทางเพจ  Facebook

ชนิดไร้น้ำมัน SF เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมชนิดไร้น้ำมัน LFxD ชนิดไร้น้ำมัน LF LFx เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม (Air compressor) เครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมชนิดไร้น้ำมัน AQ

atlas copco thailand 24/7 customer center

แอตลาส คอปโก้ ประเทศไทย (สำนักงานใหญ่)

125 หมู่ 9 นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ ถ.บางนาตราด กม.36 ต.บางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 24130

จัดการปัญหาที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายนอกให้อยู่หมัดด้วยปั๊มลม oil-free

explainer icon